วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กรุข่าห์ ทหารยอดนักรบ

ทหารกรุข่าที่ประจำการในกองทัพบกอังกฤษในปัจจุบัน
พระฤาษี โกรักห์นาตท์

กรุข่า(Grukha) หรือเรียกว่า กอรคาห์ (Gorkha) ,กรูกา(Ghurka) เป็นชื่อที่ใช้เรียก กลุ่มคนจากประเทศแถบเนปาล และ แถบตอนเหนือของประเทศอินเดีย พวกเขานั้น ได้รับสมญานามนี้ ตั้งแต่ ศตวรรษ ที่ ๘ จากเทพเจ้านักรบของฮินดู นามว่า กูรู โกรักห์นาตท์ (Guru Gorakhnath) ซึ่งท่านเป็นอาจารย์แห่งลัทธิ บุพผาลาวัลย์ Bappa Rawal กำเนิดโดย ราชกุมาร Kalbhojหรือ ราชกุมาร Shailadhish ,มีถิ่นฐานแถบ Mewar, Rajasthan (Rajputana) บุพผาราวัลย์

โดยเขาเหล่านี้ได้สืบทอดลูกหลานต่อมา จาก บุพผา ลาวัลย์ ได้เคลื่อนย้าย ถิ่นฐานลงมาทาง ตะวันออก จึงได้มาพบกับ ถิ่นฐานพำนัก คือ กอร์ค่า Gorkha โดยเหล่านี้เป็นการเริ่มต้นเป็นราชวงศ์เนปาลในเวลาต่อมา ในแคว้น กอรคา ห์ นี้ เป็น หนึ่งใน ๗๕ แคว้นของเนปาล

กรุข่า เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี จากประวัติศาสตร์ของความกล้าหาญ และ แข็งแกร่ง ใน กรมทหาร กรุข่าห์ ของ กองทัพบก อินเดีย และ กองพลน้อยทหาร กรุข่าห์ ของกองทัพบก แห่ง สหราชอาณาจักร โดยทหารกุรข่า นี้ยังได้รับ สมญานาม จาก นายทหาร อังกฤษ ว่า ชนเผ่าแห่งนักรบ โดยคำคำนี้ได้รับการขนานนามจาก นายทหารอักกฤษ ช่วงสมัย อาณานิคม อังกฤษ/ อินเดีย
Guru Gorakhnath ได้อธิบาย จากลักษณะ ความคิดที่เป็นธรมชาติแห่งการ ป้องกันตนเองจากภาวะสงคราม และ ความสามารถ ในการทำงานหนักได้เป็นเวลายาวนาน โดยชาวกุรข่า จะทำการต่อสู่ปะทะอย่างเหนียวแน่นในการรบ เกาะติดกับข้าศึก และมีไหวพริบทางการทหารเป็นอย่างดี ทางกองทัพอังกฤษ ได้เรียกเกณฑ์ ชาวเผ่าแห่งนักรบ เหล่านี้เข้าประจำการ ในกองทัพบก อังกฤษ /อินเดีย จากคำบอกเล่าของ หัวหน้าเสนาธิการ ของ กองทัพบกอินเดีย นายพล Marshal Sam Maneshaw กล่าวเกี่ยวกับทหาร กรุข่าว่า ( ถ้ามีใครพูดว่าเขาไม่เคยกลัวตาย ถ้าเขาผู้นี้ไม่โกหก ละก็ เขานี้แหละทหาร กรุข่า )

คำทางนิรุกติศาสตร์
คำว่า กอร์คา Gorkha นี้ได้รับมาจากรากศัพท์ภาษา ปรากฤษ +๑ จากคำว่า โก รัคคาห์ "go rakkha" (สันสกฤษ โกรักษา gau-rakṣa, แปรว่า "cow-protector" ผู้ปกป้องโค ) และได้ถูกเรียก โดย กูรู โกรักห์นาตท์ Guru Gorakhnath, ผู้นำทางจิตวิญญาณ ของ ชนเผ่า กอร์คา โดยเป็นสมญานามสำหรับผู้ที่นับถือ

ประวัติ
กรุข่า นี้มีที่มาจากลัทธิทางศาสนา พราห์ม ฮินดู ในตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบันคือด้านตะวันตกของ ประเทศเนปาล กูรู โกรักห์นาตท์ ( Guru Gorkhanath ) ได้มีลูกศิษย์เป็นเจ้าชายราชบุต โดยมีตำนานกล่าวไว้ในสำนัก บุพผา ราวัลว่า กำเนิดโดย ราชกุมาร กาลโบหช (Kalbhoj)/ ราชกุมาร ชายลาดิสห์ Shailadhish ,มีถิ่นฐานแถบ เมวาร์( Mewar) โดยเป็นต้นกำเนิด ของกุรข่า และไว้กล่าวเกี่ยวกับ บรรพบุรุษ ของ ราชวงษ์เนปาลในปัจจุบันด้วย
กรมทหารราชพัต หรือ ทหารรักษาพระองค์ ของ อินเดีย ปัจจุบันยังคงมีอยู่โดยผู้ที่จะมาเป็นต้องมีประวัติมาจากเชื่อสายและเคยรับราชการราชพัตมาก่อน

+๑ภาษา ปรากฤษ เป็นภาษาโบราณกลุ่มหนึ่งในอินเดียสมัยโบราณ จัดอยู่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (อินเดีย-ยุโรป)ในสาขาย่อย ภาษากลุ่มอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่านคำว่า ปรากฤต ในภาษาสันสกฤต นั้น หมายถึง ธรรมชาติ ปกติ ดั้งเดิม หรือท้องถิ่น ฯลฯ นักภาษาศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า ภาษาปรากฤต น่าจะหมายถึงภาษาที่มีวิวัฒนาการโดยธรรมชาติตามกระบวนการทางภาษา ซึ่งตรงข้ามกับภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง ขัดเกลาแล้ว อันเป็นภาษาที่ได้รับการวางระเบียบกฎเกณฑ์โดยนักปราชญ์
ชาวกุรข่า ส่วนใหญ่ เป็นพวก ธากูริ/ราชพัต (รวมทั้ง คนในราชวงค์ ชาห์ และ ราชวงค์รานา ของเนปาล ) และเป็นกลุ่มเผ่าพันธุ์ เชตริ และ พราห์มิน ด้วย แต่ในปัจจุบันที่ ทหารกรุข่า ส่วนใหญ่ จะมาจากเผ่า ลิมบู, ไร, กูรุง และ มาการ์ โดยพวกเขาเหล่านี้เข้าร่วมกับ กรุข่า มาตั้งแต่ ศตวรรต ที่ ๑๗ ในสมัยที่ยังมีการปกครองโดยกษัตริย์กรุข่า แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ชาวกรุข่า ส่วนใหญ่ เป็นชาวเผ่า ธากูริ และ เชตริส ที่เป็นนายทหารกรุข่า ในประเทศเนปาล ในขณะที่กำลังทหารส่วนใหญ่จะมาจากเผ่า ลิมบู, ไร,
กูรุง และ มาการ์ เหล่านี้เป็นการรวม ของเหล่านักรบ จากหลายๆ เผ่า จนเป็น หน่วยทหารกรุข่า จากการเป็นส่วนหนึ่ง ของอินเดีย ใน ศตวรรษ ที่ ๑๘
ตำนานกล่าวถึง บุพผา ราวัลย์ ในสมัยเป็นเด็ก เขาได้หายตัวไป อย่างลึกลับ แต่เมื่อ เขากลับมา ในลักษณะ เทพนักรบ ในระหว่าง การล่าสัตว์ กับเพื่อนๆ ในป่า ของ ราชาสถาน โดย บุพผา ลาวัลย์ จะอยู่ข้างหลัง และคอยดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับการเป็นเทพแห่งสงคราม และ เมื่ออาจารย์ โกรักห์นาตท์ ได้ตื่นขึ้น จากการเข้าฌาณสมาบัต เขาพอใจในการอุทิศตน ของบุพผา ราวัลย์ อาจารย์ท่านได้ มอบ มีด กูกริ (กูหกูริ) โดยมีลักษณะ ใบมีดโค้งมน และเป็นสัญลักษณ์ ของ กรุข่า ตำนาน กล่าวต่อว่า เขาได้บอกให้บุพผา และ พวกพ้อง ว่าต่อจากนี้ไปให้เรียก ตนว่า กรุข่าหาส คือ ศิษย์ ของ อาจารย์ โกรักห์นาตท์ และ ผู้ที่มีความกล้าหาญจะเป็นที่รู้แจ้งแก่ชาวโลก อาจารย์ ยังได้สั่งสอบอบรม บุพผา ราวัลย์และ พรรคพวกกรุข่าให้หยุดยั้ง การรุกรานของ ชาวมุสลิม
ที่ทำการบุก อัฟกานิสถาน(ในขณะเวลานั้นยังเป็นชาติที่นับถือ ฮินดู กับ พุทธ )
บุพผา ราวัลย์ บุพผา ราวัล กับ พรรคพวกได้ ทำการปลดปล่อย อัฟกานิสถาน ในเวลาต่อมา

จุดกำเนิด ชื่อ แกนดาห์รา จากปัจจุบันเปลี่ยนเป็น กานดาหาร์ ก็มาจากพวกเขาเหล่านี้เช่นกันและ พรรคพวกชาวกุรข่า ได้หยุดยั้งการรุกราน จากพวกอิสลาม ในศตวรรษที่ ๘ โดยสมัยนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย และยังมีตำนานกล่าวอีกว่า บุพผา ราวัล ( คาลโบช) ได้รุกไปถึง อิร่าน อิรัก อีกด้วย
ยังมีความเข้าใจผิดบางประการ เกี่ยวกับ กรุข่า โดยการได้นำชื่อ ของ แคว้น โกรคา ของเนปาล มาใช้ โดยแคว้นนี้แท้แล้วได้ก่อตั้งหลังจากที่มีชาวกรุข่า มาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว ในก่อน ปี ๑๕๐๐ พวกบุพผาราวัลย์ ได้ขยายตัวลงมาทางทิศตะวันออก และเข้าครอบครอง รัฐเล็กๆ ในปัจจุบันเป็นของเนปาล ด้วยการตั้งชื่อ โกรคา เพื่อการให้เป็นเกียรติ ของ เทพเจ้าของเขา โดยในปี ๑๗๖๙ โดยตลอดมา ได้มีการปกครอง จากกษัตริย์เรื่อยมา คือ ศรี พานช , มหารราช ดิราช พริทวิ นารายัน ชาเดฟ (๑๗๖๙- ๑๗๗๕) ราชวงศ์ โกรคา ได้ทำการปกครองพื้นที่ดังกล่าวในปรเทศเนปาลปัจจุบัน จนยกเลิกระบบกษัตริย์ในเวลาต่อมา ซึ่ง พวกเขาเหล่านี้ จะนับถือศาสนาฮินดู แม้ว่า บางตำบลจะ เป็น ลักษณะหมู่บ้านยังมีนักรบ รัชพุต และ โกรหานาตห์ เหลืออยู่
สงครามของชาวกรุข่า ปี (๑๘๑๔- ๑๘๑๖) ด้วยการรบระหว่าง กองทัพ จาก บริษัท อักฤษอินเดียตะวันออก) พวกอังกฤษ ประทับใจในการรบของชาวกรุข่า เป็นอย่างมาก หลังจากสถานการณ์การรบแบบคุมเชิงและไม่สามารถเอาชนะกับชาวกรุข่าห์ได้ จึงทำให้เปลี่ยนวิธีการให้เนปาลเป็นรัฐในอารักขา ของอังกฤษ ต่อมายังได้ทำการว่าจ้างนักรบชาวกรุข่า ให้เป็น นักรบรับจ้าง ในเนปาล (ในช่วงแรกยังไม่ยอมรับ นักรบรับจ้าง ณ พื้นที่แถบอัสสัม แต่หลัง จากนั้น ได้มีการจัดการตั้ง กรมทหารกรุข่าขึ้น ใน กองทัพ บริษัทอินเดียตะวันออก ด้วยการขออนุญาต จากรัฐมณตรี Shree Teen Shree Teen (3) Maharaja (Maharana) Jung Bahadur Rana โดย รานา เป็นนายกรัฐมณตรีคนแรก ซึ่งเป็นคนที่ตั้งกฎ Rana oligarchi ในเนปาล และเขายังเป็นหลานชายของ ผู้ที่เป็นที่นับถือในฐานะฮีโร่ ของชาวเนปาล และนายกรัฐมนตรี Bhimsen Thapaด้วย จุดเริ่มต้น ของ Jung Bahadur โดย การที่ พี่น้องของ ราโนดิพ ซิงห์ ได้นำการปฏิวัติสังคมเนปาลใหม่ และทำการยกเลิกทาส ,ลดบทบาทการจัดชั้นวรรณะและ จัดให้มีการศึกษาสำหรับภาคประชาชน และ อื่นๆ แต่ความฝันเหล่านี้ได้พังทลายลงจากการรัฐประหาร ปี ๑๘๘๕ โดย หลานชายของ Jung Bahadur และ Ranodip Singh (the Shumshers J.B., S.J.B. หรือ Satra( ๑๗) Family) โดยได้ทำการสังหาร Ranodip Singh และหลานชายของ Jung Bahadur ขโมยชื่อของเขาและเข้าปกครองประเทศเนปาล โดยกฎหมายของ Shumshers Rana ซึ่งได้ทำให้ประเทศเนปาลเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง ลูกหลานของ Jung Bahadurและ Ranodip Singh ได้ทำการหลบหนีการรัฐประหาร ในปี ๑๘๘๕ จากประเทศเนปาล สู่ประเทศอินเดียในเวลาต่อมา