วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

French Foreign Legion (La Legionnaires)




กองทหารต่างด้าวของฝรั่งเศส Legion Etrangere ได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดย พระเจ้า หลุยส์ ฟิลลิปป์ กษัตริย์ของฝรั่งเศส ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ค.ศ.๑๘๓๑ โดยหลักเหตุผลสำคัญโดยตรงข้อแรกก็คือ คนต่างชาติไม่สามารถที่จะรับใช้กองทัพบกฝรั่งเศสหลังจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ เดือน กรกฎาคม ปี ค.ศ.๑๘๓๐ ได้ ดังนั้นกองทหารต่างด้าวจะถูกก่อตั้งขึ้นและได้รับการอนุมัติ จากรัฐบาลโดยทางอ้อมจากข้อกำหนดที่ได้ตราขึ้นแล้วเท่านั้น จุดประสงค์อย่างที่สองก็คือ ความต้องการจัดตั้งหน่วยทหารในการที่จะหลีกหนีความวุ่นวายยุ่งเหยิงจากองค์ประกอบทางสังคมสมัยนั้น โดยจะต้องมีทหารไปทำการต่อสู่กับข้าศึกของฝรั่งเศส การรับทหารเข้าประจำการนั้นรวมถึงพวกที่ทำปฏิวัติล้มเหลวจากพวกที่อยู่ประเทศยุโรป จากทหารต่างชาติที่ถูกปลด เชลยศึก และคนทั่วไปที่มีปัญหาในการประกอบอาชีพ ทั้งคนต่างชาติและคนฝรั่งเศส จุดมุ่งหมายปลายทางก็คือประเทศแอลจีเรีย สำหรับ ลีเจียนแนร์แล้วได้ถือว่าเป็นบ้านหลังแรกของพวกเขา

ในช่วงปลาย ค.ศ.๑๘๓๑ หน่วยทหารต่างด้าว (ลีเจียนแนร์) ได้ปฎิบัติการใน แอลจิเรีย หรือ ในประเทศที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้เคยเป็นบ้านของเหล่าทหารต่างด้าวทั้งรูปแบบและ สัญลักษณ์ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๓๐ ปีมาแล้ว แต่ช่วงการปฎิบัติการในครั้งแรกที่แอลจีเรียนี่เป็นงานที่สุดหิน เพราะพวกเขาถูกส่งไปท่ามกลางสถานการณ์ที่หายนะโดยแท้ พวกเขาได้รับภารกิจที่เสี่ยงตายกับประเทศที่เป็นเมืองขึ้นแบบเสียไม่ได้ หรือแทบจะไม่เป็นที่สนใจนักสำหรับปารีส แต่ทว่าพวกเขา(Leginnaires) ก็ปฎิบัติหน้าที่รับใช้ผรั่งเศสที่แอลจีเรียนตั้งแต่ต้นจนจบภารกิจเป็นระยะเวลาถึง สี่ปี และหลังจากประเทศนี้แล้ว ก็เป็นที่อื่นอีกนับไม่ถ้วน


หน่วยทหารต่างด้าวหรือเรียกทับศัพท์ว่า ลีเจียนแนร์ นี้ แรกเริ่มเดิมที่ พวกเขาถูกใช้ให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาผลประโยชน์ ณ ประเทศอาณานิคมจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วง ศตวรรษที่๑๙ แต่พวกเขาก็ได้ร่วมต่อสู้เกือบทั้งหมดของสงครามที่มีรับใช้ฝรั่งเศส รวมถึงสงคราม ฝรั่งเศส -ปรัสเซียน และ สงครามโลกทั้งสองครั้ง ลีเจียนแนร์ ยังคงมีประจำการ ในส่วนที่สำคัญของกองทัพบกฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในสามส่วนของ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และยังในจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง มีทั้งยุคเฟื่องฟูและถดถอยซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกับการเกณฑ์เข้าสู่กองทัพของฝรั่งเศส จนถึงการสูญเสียบ้านของพวกเขาจากการประกาศอิสระภาพจากประเทศอาณานิคมฝรั่งเศสของ แอลจีเรีย

สงครามครั้งแรก ที่สเปน (First Carlist War) http://en.wikipedia.org/wiki/Carlism
ด้วยการสนับสนุน ให้กับ Isabella ให้กลับสู่บัลลังค์กษัตริย์อีกครั้ง ด้วยการรบพุ่งกับ ลุงของเธอเอง รัฐบาลฝรั่งเศส ตัดสินใจที่ส่งทหาร ลีเจียนแนร์ไปยังสเปน ในวันที่ 28 มิ.ย.1835 โดยหน่วยทหารให้ขึ้นอยู่กับการบังคับบัญชาของรัฐบาลสเปน ทหารลีเจียนแนร์ เดินทางถึง Tarragona (เมืองท่าที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบราเซโลน่า) ในวันที่ 17 ส.ค. ด้วยกำลังพล 4,000 คนซึ่งเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นสองเท่าของที่เคยถูกส่งไป แอลจีลีนอส ในแอลจีเรีย เนื่องจากการปฏิบัติการที่ผ่านมา
เมือง Taragona

View Larger Map
นายทหารของลีเจียนแนร์ ได้ทำการแก้ปัญหาภายในกองทัพได้อย่างทันท่วงที สำหรับการปกครองและการบังคับบัญชาอีกทั้งกำลังใจในการสู้รบของหน่วย ต่อมา เขาได้ก่อตั้งหมวดทหาร lancers (หน่วยทหารม้าใช้แหลนเป็นอาวุธ)

อีกสามหมวด และกองพันปืนใหญ่ จากกองทหารที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและมีเอกภาพในการรบมากยิ่งขึ้น หน่วยลีเจียนแนร์ได้ถูกปรับปรุง ในวันที่ 8 ธ.ค. 1838 ในขณะที่มีกำลังพลคงเหลือเพียงแค่ 800 นาย ในส่วนที่ยังคงรอดตายได้กลับฝรั่งเศส บางครั้งพวกเขาอาจได้เข้าร่วมรบกับ หน่วยลีเจียนแนร์ ใหม่ ที่ประกอบไปด้วยกำลังพลที่เป็นเชลยศึกซึ่งพวกเขาได้เคยต่อสู่กันมาก็ตาม ลิงค์หน่วยทหาร lancers ของฝรั่งเศส http://www.napoleon-series.org/military/organization/c_lancers.html

สงครามที่ Mexico(Battle of Camarón) มือปลอมทำด้วยไม้ของร้อยเอกแดนโจ

ร้อยเอก แดนโจ ผู้ที่มีมือปลอมทำด้วยไม้ เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 30 เม.ย.1863 นั้นเป็นการรวบรวมเรื่องราวของเหล่าผู้กล้าของลีเจียนแนร์ ณ กองร้อยที่ 1 ที่นำโดยร้อยเอก แดนโจ (Capt.Danjou)ซึ่งมีจำนวน ทหารในบังคับบัญชา 62 นาย และนายทหาร 3 นาย ได้รับให้ปฏิบัติภารกิจคุ้มกันขบวนสัมภาระไปยังเมือง Puela ที่ถูกปิดล้อมโดยทหารอาสาของข้าศึกชาวแม็กซิกันจำนวนถึงสองพันนาย โดยได้แบ่งการจัดกำลังเป็น สามกองพันทหารราบ และ ทหารม้า ซึ่งมีจำนวน 1,200 และ 800 นายตามลำดับ หน่วยลาดตระเวนได้ทำการตั้งรับ ณ Hacienda Camarón แม้ว่าจะมีความหวังอันน้อยนิดที่จะชนะศึกก็ตาม แต่พวกเขาเหล่าลีเจียนแนร์ก็ต่อสู้ยืนหยัดจนเกือบคนสุดท้าย ตอนที่พวกเขาเหลือกำลังพลทั้งหมด 6 นาย และขาดกระสุนต่อสู้ พวกเขาได้ทำการติดดาบปลายปืนเข้าปะทะกับข้าศึกสามในหกได้ถูกปลิดชีวิต ที่เหลือสามนายได้รับการปล่อยตัวให้กลับฝรั่งเศส และเป็นผู้ได้รับเกียรติยศสำหรับ เป็นทหารอารักขา ร่างของ ร้อยเอก แดนโจ กลับมาตุภูมิ จากการอนุญาตของนายพลแม็กซิกัน มือเทียมของ ร้อยเอกแดนโจ ถูกขโมยในระหว่างสงคราม แต่ก็ได้รับการส่งคืนมาภายหลัง และปัจจุบันได้ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของเหล่าทหาร ต่างด้าว ลีเจียนแนร์ ณ เมือง Aubague และได้รับการสวนสนามทุกๆปีในวัน Camerone Day และนั้นก็คือเกียรติประวัติที่ล่ำค่าสืบทอดของเหล่าลีเจียนแนร์มายังปัจจุบัน


สงคราม Franco-Prussian
จากกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ที่ได้วางไว้เกี่ยวกับการใช้กองกำลังลีเจียนแนร์ ว่าจะไม่ถูกใช้จนกว่าทางปารีสจะยอมรับในกรณีที่มีการคุกคามระหว่างชาติ และ นี่ก็เป็นผลที่ทำให้ ไม่มีทหารลีเจียนแนร์ ในกองกำลังของจักรพรรดิ์นโปเลียนที่สามเพื่อการคงไว้ซึ่งกฎหมาย แต่ด้วยการพ่ายแพ้ของทหารจักรพรรดิ์ ในสมัยจักรพรรดิ์นโปเลียนที่สอง และ สาธารณรัฐที่สามก็ถูกตั้งขึ้น
ในสมัยสาธารณรัฐที่สามใหม่นี้ ได้ทำการแบ่งแยก ทหารเพื่อการเตรียมพร้อมเข้าสู่ส่งคราม Franco-Prussian
http://en.wikipedia.org/wiki/Franco-Prussian_War
http://www.youtube.com/watch?v=DF6-oKqPtlk
ดังนั้นทหารลีเจียนแนร์ได้ถูกนำเข้าสู่กรมกองอีกครั้ง ในวันที่ 11 ต.ค.1870 สองกองพันที่ได้รับการจัดกำลังไว้ชั่วคราว ได้ถูกวางกำลังไว้ที่ Toulon (เมืองท่าอยู่ที่ตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส http://en.wikipedia.org/wiki/Toulon )ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ทหารลีเจียนแนร์ได้ถูกวางกำลังในประเทศของตัวเอง โดยพวกเขาได้พยายาม เข้าตีจากการโอบล้อมปารีส ด้วยการหยุดยั้งแนวของทหารเยอรมัน และพวกเขาเข้ายึด Orléans กลับมาจากข้าศึกได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถหยุดการโอมล้อมของข้าศึกได้
View Larger Map
สงครามใน ศตวรรษ ที่19 สงครามล่าอาณานิคม
ระหว่างสาธารณรัฐที่สามของฝรั่งเศสนี้ หน่วยทหารลีเจียนแนร์ ได้รับบทบาทหลักในการขยายจักรวรรดิ์สำหรับการล่าเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ด้วยพวกเขาได้ทำการสู้รบในแอฟริกาเหนือ (ในพื้นที่ที่ได้ตั้งกองบัญชาการทหารลีเจียนแนร์ ที่ Sidi Bel Abbès ในประเทศ Algeria) ,การรบที่เบนิน ,การรบที่มาดากัสกา,การรบที่อินโดจีน และ ไต้หวัน

ภาพสเก็ตของ พันโท ดอนเนียร์

ยุทธการ ที่ตังเกี๋ย และ สงคราม จีน-ฝรั่งเศส( Sino-French War)
กองพันทหาร ลีเจียนแนร์ที่ 1 นำโดย พันโท ดอนเนียร์(Lieutenant-Colonel Donnier)ได้ถูกส่งประจำการที่ ตังเกี๋ย ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1883 ช่วงระหว่างนั้น พื้นที่นี้ยังไม่ได้รับการยืนยันการเป็นเจ้าของ จึงเป็นวิกฤติเหตุการณ์กรณีสงคราม จีน - ฝรั่งเศส (ตั้งแต่เดือน ส.ค.1884 ถึง เดือน เม.ย.1885) จากการที่มีการเข้าปะทะที่ประตูทางทิศตะวันตกของ เมือง Son Tay เมื่อ
ภาพทหาร ลีเจียนในสมรภูมิเอเชีย
 
วันที่ 16 ธ.ค.กองพันทหาร ลีเจียน ที่ สอง และ สาม นำโดย ผบ.พัน ชื่อ Diguet และ พันโท Schoeffer ได้ถูกวางกำลัง ณ ที่ตังเกี๋ยอย่างทันที่ หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และได้เป็น หน่วยหลักในการดำเนินกลยุทธ ของสงคราม จีน - ฝรั่งเศสในกาลต่อมา ,ทหารลีเจียนแนร์ จำนวนสองกองร้อยได้นำการ ป้องกันและล้อมเมือง Tuyen Quang (ระหว่าง 24 พ.ย.1884 ถึง 3 มี.ค. 1885) ในเดือน ม.ค.1885 ,กองพันทหาร ลีเจียนที่ 4 ที่นำด้วย ผบ.พัน ชื่อVitalis ได้ถูกวางกำลัง ณ กองพลน้อยทหารฝรั่งเศส ที่ Keelung (Jilong) และ เกาะFormosa (Taiwan), ในพื้นที่เหล่านี้รวมถึงการเข้าสู่การรบที่ Keelungด้วย กองพันทหาร ลีเจียนแนร์ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการรบ โดยการป้องกันพื้นที่ จากหน่วยของ พันเอก Jacques Duchesne ในเดือน มี.ค.1885 โดยสามารถเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญคือ La Table และ ค่ายBamboo และทำการปลดปล่อย Keelung ให้เป็นอิสระ.


กองพันทหารลีเจียนแนร์ ก่อนที่จะจากแผ่นดิน ตังเกี๋ย ได้เข้าร่วมกับ สมรภูมิ Bac Ninh , นายพล François de Négrier ได้ประกาศใจความอันมีสาระสำคัญและเป็นคำขวัญ (Motto)ไว้ว่า : Vous, légionnaires, vous êtes soldats pour mourir, et je vous envoie où l’on meurt! (ทหารลีเจียนแนร์ทั้งหลาย พวกคุณเป็นทหารที่ได้รับคำสั่งเพื่อไปตาย และ ผมจะส่งพวกคุณให้ไปถึงที่นั่น)


ระหว่าง สมรภูมิสงครามโลก


ในปี 1932 หน่วยทหาร ลีเจียนแนร์ประกอบไปด้วย ทหาร 30,000 นาย อยู่ภายใต้ 6 หน่วยใหญ่ๆดังต่อไปนี้
หน่วยทหารราบที่ 1 - ประจำการในพื้นที่ แอลจีเรีย และ ซีเรีย
หน่วยทหารราบที่ 2,3,4 - อยู่ในสมรภูมิ โมร็อคโค
หน่วยทหารราบที่ 5 - ประจำการในภูมิภาค อินโดจีน
หน่วยทหารม้าที่ 1 - ประจำการ ณ ประเทศ ตูนิเซีย และ โมร็อคโค

ระหว่างส่งครามโลกครั้งที่ 2

กองทหารต่างด้าวนี้ ได้ทำการรบ ด้วยกองกำลังขนาดเล็ก ในสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมียุทธการร่วมรบในพื้นที่
ประเทศนอร์เวย์ ,ซีเรีย และ แอฟริกาเหนือ ในหน่วยย่อยของกองพลน้อยที่ 13 ได้ถูกวางกำลังในสมรภูมิ Bir Hakeim และได้ถูกแบ่งออกเพื่อรับใช้ประเทศ ณ ช่วงเวลานั้น ส่วนหนึ่งของทหารลีเจียนแนร์ได้เข้าร่วมกับ กองกำลัง ปฏิวัติเสรีฝรั่งเศส ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งไปเข้าร่วมกับ รัฐบาล Vichy (รัฐบาลที่ร่วมกับฝ่ายอักษะ) ในการรบที่ สมรภูมิ ซีเรีย - เลบานอน ในเดือน มิ.ย.1941 เห็นได้ว่า ทหารลีเจียนแนร์ ได้ทำการรบกันเอง ระหว่าง หน่วยย่อยของกองพลน้อยที่ 13 (13th Demi-Brigade )(D.B.L.E.)กับ กรมทหารราบต่างด้าวที่ 6 ของลีเจียนแนร์ ที่ Damas ในประเทศซีเรีย โดยหลังจากนี้น ทหารลีเจียนแนร์จำนวน 1,000 นายทุกชั้นยศของฝ่่่าย รัฐบาล vichy ได้ถูกเข้าร่วมกับ หน่วยย่อยของกองพลน้อยที่ 13 ของกองทัพปฏิวัติเสรีฝรั่งเศส เป็นกองพันที่สาม ช่วงตลอดสงคราม มีทหารเยอรมันหลายนายได้รับการเข้าร่วมกับทหารลีเจียน ที่พวกเขาไฝ่ฝันต้องการอยู่กับหน่วยทหารชั้นยอด ด้วยรูปแบบการฝึกที่สามารถไปได้ไม่่ยากเย็นนักสำหรับในเยอรมันนี โดยชายชาวเยอรมันพวกเขายังนิยมสมัครเข้าเป็นทหารลีเจียนแนร์อย่างไม่ขาดสาย กระทั่งปัจจุบันนี้

สภาพธงชัยเฉลิมพลของกองพันทหารลีเจียนแนร์ที่ 5 ถูกทหารไทยยึดได้ ในภาพ มีจอมพล ป.ร่วมอยู่ด้วย  สงครามไทย-ฝรั่งเศส(รัฐในอารักขากัมพูชา)

สงครามฝรั่งเศส /ไทย กรณีพิพาทอินโดจีน สงครามอินโดจีน (Guerre franco-thaïlandaise 1940–1941) ได้เกิดการสู้รบกันระหว่างประเทศไทย กับ รัฐบาลฝรั่งเศสของ Vichy ในกรณีพิพาทระหว่างเขตแดน ของ อินโดจีนฝรั่งเศสที่เป็นของไทยแต่เดิม ได้มีการเจรจาสงบศึก ในช่วงสั่นก่อนส่งครามโลกครั้งที่สอง ได้แสดงให้เห็นว่าทางฝ่ายรัฐบาลฝรั่งเศสมีความต้องการปักปันเส้นเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีการถอนตัวของฝรั่งเศสในช่วงปี 1940 โดย พลตรี หลวงพิบูรณ์ สงคราม หรือที่รู้จักกันในนาม พิบูรณ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ของประเทศไทย และการที่ฝรั่งเศสตัดสินใจพ่ายแพ้สงครามและมีผลทำให้ ประเทศไทยได้ดินแดนที่เสียไปในสมัย นายหลวง ร.๕ กลับคืนมา





การโจมตีด้วยเครื่องบินของกองทัพไทยในอาณานิคมฝรั่งเศส

นี่เป็นบันทึกในการรบช่วงหนึ่งในส่งคราม ฝรั่งเศส /สยาม
กองกำลังของฝ่ายฝรั่งเศสนำโดย พันเอก Jacomy เข้ายึดป้องกันพื้นที่เขต RC.1 และทำการประทะที่ Yang Dam Koum และพื้นที่นี้ได้ถูกโจมตีอย่างหนักตั้งแต่เริ่มแรกเลยทีเดียว กองกำลังประกอบไปด้วย หนึ่งกองพันทหารราบอาณานิคม (ชาวยุโรป) และ สองกองพันทหารราบผสม (ยุโรป/อินโดจีน) พื้นที่ป่าภูเขาทำให้การทำงานของปืนใหญ่ ลำบากมากขึ้น กองกำลังทางอากาศของฝรั่งเศสไม่ได้แสดงผลงานเลย ได้ปล่อยให้กองทัพอากาศสยามเป็นเจ้าครองเวหาฝ่ายเดียว และการสื่อสารด้วยวิทยุทำได้อย่างจำกัดจำเขี่ย ฝ่ายฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ใช้ รหัสมอส ในการส่งข้อความ บ้างครั้งยังยากจะอธิบายให้ทราบว่าทำไม ฝ่ายสยามจึงได้ล่วงรู้การเคลื่อนไหวฝ่ายเรา(ฝรั่งเศส)อยู่บ่อยครั้ง การแตกพ่ายอย่างราบคาบในการป้องกันพื้นที่นี้ โดยที่ทหารสยาม ได้บุกทะลวงโจมตี กองพัน ของกรมทหารลีเจียนแนร์ที่5 ในหน่วยทหารราบต่างด้าว ณ Phum Préau ทหารลีเจียนแนร์โดนตีอย่างหนักหน่วง จากหน่วยยานเกราะของฝ่ายทหารสยามทีมี ปืนขนาด 25mm และ 75mm ที่ใช้สำหรับต่อสู่รถถัง แต่ในขณะนั้นหน่วยทหารราบยานยนต์ฝรั่งเศสได้เข้าเสริมแนวรบ ของ กรมทหารราบอาณานิคม ที่ 11 ทำให้รถถังฝ่ายสยามถูกทำลายไปสามคัน และที่เหลือได้ถอยร่นออกไป การเบี่ยงเบนในการเข้าปะทะ บนพื้นที่แม่น้ำโขงได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่ที่สำคัญและน่าจดจำไปกว่านั้นก็คือสงครามใหญ่ที่กำลังต่อสู่อยู่ในอ่าวของสยาม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
http://www.militaryhistoryonline.com/20thcentury/francosiamese/default.aspx
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?user=panorama&jnId=164684
First Indochina War

สงคราม ฝรั่งเศส - เวียตมินห์ สมรภูมิ เดียน เบียน ฟู Trận Điện Biên Phủ


จากการประกาศตัวเป็นเอกราช ของ ประชาชนชาวเวียดนามที่รักชาติ นำโดย ท่านผู้นำ โฮจิมินห์ รวมแล้วเรียกผู้กอบกู้เอกราชจากอาณานิคมฝรั้่งเศสว่า เวียดมินห์ โดยเริ่มมีการปลูกฝังค่านิยมความคิดและการดำเนินการแบบป่าล้อมเมืองตามแบบอย่างประเทศฝ่ายคอมมิวนิสต์ นิยมปฏิบัติกันในสมัยนั้น ซึ่งการดำเนินนโยบายปลดปล่อยตัวเอง ได้เข้าไปมีอิทธิพลทั้งในประเทศเวียดนามเอง และในลาวเพิ่มขึ้น ฝ่ายฝรั่งเศสตระหนักถึงข้อนี้ดี เนื่องจากการรุกฮือของเวียดมินห์ ระว่างปี 1951 - 1953 วันที่ 13 มกราคม 1951เกี๊ยบเคลื่อนกำลังกองพลที่ 308 และ 312 จำนวนกว่า 20,000 คน เข้าโจมตีวินเยน (Vĩnh Yên) ที่อยู่ห่างจากฮานอยไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 20 ไมล์ ที่นี่มีกรมทหารต่างด้าวที่ 9 จำนวน6,000 คน การยุทธที่วินห์เยน, เกิดขึ้นในวันที่ 13 - 17 มกราคม 1951 เป็นการรบใหญ่ครั้งหนึ่งในสงครามอินโดจีนครั้งแรก ระหว่างกองกำลังของฝรั่งเศสที่นำโดยนายพล จอง เดอ ลัทเทอร์ เดอ ทัสซิงยี วีรบุรุษในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับฝ่ายเวียดมินห์ ที่นำโดยนายพล โว เหงียน เกี๊ยบ ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้ชัยชนะที่ผ่านมาของฝ่ายเวียดมินห์ต้องถูกหยุดลง


นับเป็นชัยชนะของฝรั่งเศสเหนือกว่าอินโดจีนอีกคร้้ง แต่เวียดมินห์ก็ได้รับการสถาปนา กำลังขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนยุทธปัจจัยจากประเทศ คอมมิวนิสต์พี่ใหญ่อย่างจีน ทำให้กองกำลังเวียดมินห์ รุกคืบอย่างหนักไปยังเมืองอีกหลายเมืองในเวลาต่อมา ถึงจะเสียกำลังพลจากการโจมตีฝรั่งเศสไปมาก แต่เวียดมินห์ก็ยังสามารถ หากองกำลังทดแทนได้อยู่เสมอ เป้าหมายการขยายตัวต่อไปคือ หลวงพระบาง และ บริเวณทุ่งไหหิน ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสต้องหาทางหยุดยั้งการรุกคืบนี้ให้ได้ เหล่านี้เป็นปัญหาไม่เฉพาะฝรั่งเศสเท่านั้นแต่มันเป็นปัญหาของประเทศโลกเสรี ทั้งหมดในการนิยามตามทฤษฎีโดมิโน ของสหรัฐอเมริกา จากคำพูดของ ประธานธิบดี ดไวท์ ดี ไอร์เซนเฮาว์ ซึ่งถ้าเป็นไปตามทฤษฎีนี้อาจมีผลทำให้ประเทศแถบอินโดจีน และ ออสเตเลีย รวมถึง นิวซีแลนด์ เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ไปด้วย ทางด้านอเมริกันจึงจำเป็นต้องเขาร่วมสนับสนุนการสะกัดกั้นการรุกคืบของคอมมิวนิสต์ในครั้งนี้ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยครั้งแรกเป็นการส่งผู้แนะนำทางทหาร และ ยุทโธปกรณ์ รวมทั้งเงิน ให้กับฝรั่งเศส เพื่อใช้ทำสงครามกับเวียดมินห์ด้วย แต่ยังไม่ลงมาแบบเต็มตัว ซึ่งอเมริกันได้จ้องดูสถานการณ์ อยู่ห่างๆอย่างไม่กังวลใจเท่าใดนัก กับการปฏิบัติการของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เพราะอย่างไร ทางเวียดมินห์ก็ไม่สามารถเทียบกับระบบส่งกำลังบำรุง และยุทโธปกรณ์อันทันสมัยของกองทัพโลกเสรีได้






ทางฝรั่งเศสได้วิเคราะห์หาจุดยุทธศาสตร์ในการตัดการแพร่กระจายของเวียดมินห์ และเห็นว่า พื้นที่ ของหุบเขาที่มีแม่น้ำผ่านกลาง ที่เมือง เดียน เบียน ฟู เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นการทำให้ข้าศึกเห็นว่าที่นี่เป็นชัยภูมิที่เสียเปรียบ และต้องการที่จะให้เวียดมินห์โหมกระหน่ำตี ด้วยวิธีคลื่นมนุษย์ เป็นหลักการที่เคยใช้ในประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย ทั้งยังเป็นจุดกลยุทธที่สำคัญในการสกัดกั้นเวียดมินห์ออกจากลาวอีกด้วย ฝ่ายเสนาธิการฝรั่งเศสที่นำโดย นายพล อองรี นาวาร์ (General Henri Navarre) เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการในอินโดจีน ได้ทำการประเมินยุทธวิธีนี้ว่าได้เปรียบจากการได้รับการส่งกำลังบำรุงและโจมตีจากเครื่องบินและ ปืนใหญ่ ปืน ค.พร้อมรถถัง M24 อีกจำนวนหนึ่ง อีกทั้งพร้อมด้วยกำลังพล หน่วยกองพลร่ม ที่ 1 และ 2 ของทหารลีเจียนแนร์ และทหารประจำถิ่นอาณานิคม ก็จะสามารถตัดกำลังเวียดมินห์ออกได้ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม สงครามเดียน เบียน ฟู ได้เริ่มขึ้นแล้ว แต่ทว่าสถานการณ์ในการรบจริงไม่ได้เป็นไปตามที่ฝรั่งเศสต้องการ ทางเวียดมินห์ได้ตระเตรียมยุทธปัจจัยมาล่วงหน้าเป็นเวลากว่าสองเดือนก่อนสงครามจะระเบิดขึ้น ด้วยการเคลื่อนย้าย ปืนใหญ่ และ ปตอ.และ ค. จำนวนมาก ไปยังชัยภูมิที่มีลักษณะสูงข่ม บนยอดเนินเขาโดยรอบพื้นที่ เดียน เบียน ฟู โดยใช้การขุดดินทำฐานปืนยิงตรงบนหัวเขา สำหรับ โฮจิมินห์แล้ว พื้นที่ ตั้งรับของฝรั่งเศสก็เปรียบเหมือนก้นถ้วยชามข้าว และพวกเขาแค่จ้องมองลงไปจากปากชามนั้น ฝรั่งเศสประเมินเวียดมินห์ต่ำเกินไป โดยฝ่ายเสนาธิการทางทหารของฝรั่งเศสได้วิเคราะห์กองกำลังเวียตมินห์ ว่าไม่สามารถใช้ปืนใหญ่ทำการยิงจำลองได้ ถึงได้ก็ยิงได้ไม่เกินสามนัด เพราะนัดที่สี่ทางฝรั่งเศสจะทราบตำแหน่งฐานปืนใหญ่อย่างแน่นอน การวิเคราะห์นี้ก็ไม่เกินจากความจริงนักแต่ฝรั่งเศสกับลืมไปว่าปืนใหญ่นอกจากจะยิงจำลองได้แล้ว(การยิงจำลอง คือ การยิงโดยใช้ผู้ตรวจการณ์หน้าพร้อมยิงด้วยกระสุนวิถีโค้ง) และการยิงตรงก็ทำได้เช่นกันโดยถ้าสามารถเห็นเป้าหมายก็ทำการยิงได้ทันที นั่นหมายถึงการที่ต้องตั้งฐานปืนในพื้นที่สูงข่ม ซึ่งปัจจัยนี้การคมนาคมเป็นหลักสำคัญฝรั่งเศสประเมินศักยภาพของ เวียตมินห์ คือกองทัพคอมมิวนิสต์ชาวนาจนๆที่มีแค่อุดมการณ์ไร้ตัวตน และนั้นก็คือพลังการต่อสู่ที่หารูปแบบไม่ได้ และปราศจากตัวตนจริงๆ สำหรับข้าศึกของฝรั่งเศสในครั้งนี้ การส่งกำลังบำรุง ให้กับทหารพลร่มเข้าสถาปนาพื้นที่การรบแล้ว ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะโดนรบกวนจาก ปตอ.จำนวนมากของเวียดมินห์โดยตลอด ตอนนี้ทหาร ลีเจียนแนร์ได้กระโดดออกจากเครื่องบินลงนรกโดยแท้จริง เพราะทั้งขาดเสบียงและเวชภัณฑ์ แต่ที่ได้รับแทนก็คือลูกกระสุนปืนใหญ่และลูกปืน ค.จากฝ่ายเวียดมินห์ ยุทธการนี้จึงกลายเป็นกลยุทธ คูสนามเพลาะในแบบสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอีกครั้ง ตอนแรกดูเหมือนฝ่ายฝรั่งเศสจะใช้พลร่มโอบตีได้สำเร็จ แต่ด้วยภูมิประเทศอันจำกัด ทำให้การรุกคืบเป็นไปได้ลำบาก ฝรั่งเศสพยามเป็นอย่างมากที่จะหาหน่วยปืนใหญ่ของเวียดมินห์แต่ก็ไร้ผล เพราะเนื่องว่าได้รับการอำพรางเป็นอย่างดี และจากภูมิประเทศป่่าภูเขาทำให้ยากต่อการตรวจการ ตอนนี้ค่ายเดียน เบียน ฟู ก็ได้เป็นไข่ดาว รอวันที่ถูกเจาะเท่านั้น และท้ายสุดเวียดมินห์ระดมกำลังเข้าตีครั้งใหญ่ในคืนวันที่ 1 พฤษภาคม จนสามารถยึดฐาน Elaine 1, Dominque 3, และ Huguette 5 ฝรั่งเศสพยายามต้านทานการบุกที่ฐาน Elaine 2 วันที่ 6พฤษภาคม, เวียดมินห์ก็ระดมกำลังโจมตีฐาน Elaine 2 อีกครั้ง คราวนี้เป็นครั้งแรกที่เวียดมินห์ใช้จรวดคัทยูช่า (Katyusha) ถล่มฝ่ายฝรั่งเศส ฝรั่งเศสระดมยิงปืนใหญ่สกัดกั้นคลื่นการรุกของฝ่ายเวียดมินห์สำเร็จ อีกหลายชั่วโมงต่อมาเวียดมินห์เข้าตีอีก หลังการสู้รบอย่างดุเดือดหลายชั่วโมง ฐาน Elaine 2 ก็แตก


นายพล เกี๊ยบ สั่งให้ทุกหน่วยเข้าโจมตีหน่วยทหารของฝรั่งเศสที่ยังเหลืออยู่, การสู้รบอย่างดุเดือดดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องจนถึงค่ำของวันที่ 7พฤษภาคม ฐานของฝรั่งเศสทุกฐานในตอนกลางของค่ายก็ถูกเวียดมินห์ยึดได้สำเร็จ ทางด้านทหารที่ประจำบนฐาน Isabelle ได้พยายามตีฝ่าวงล้อมออกมาเช่นกัน กำลังส่วนใหญ่ของฐานแห่งนี้ไม่สามารถรอดออกจากหุบเขาได้ มีเพียงทหารราว 70 คนเท่านั้น (จาก 1,700 คน) ที่เล็ดรอดหนีไปถึงลาวได้สำเร็จ
เมื่อสถานการณ์เลวร้ายลง ฝรั่งเศสหวังใช้การเจรจาสันติภาพที่เจนีวาเป็นทางรอด โดยการประชุมดังกล่าวเริ่มขึ้นในวันที่ 26 เมษายน แต่ที่มั่นสุดท้ายของฝรั่งเศสถูกเวียดมินห์โจมตีแตกในวันที่ 6 พฤษภาคม หลังที่มั่นสุดท้ายถูกถล่มด้วยจรวดคัทยูซาของรัสเซียจนต้องยอมแพ้ในที่สุด

หลังการรบ

วันที่ 8พฤษภาคม, เวียดมินห์จับเชลยศึกได้ 11,721 คน, ในจำนวนนี้เป็นทหารที่ได้รับบาดเจ็บ 4,436 คน ถือเป็นจำนวนเชลยศึกที่เวียดมินห์จับได้มากที่สุดในคราวเดียว หรือเท่ากับหนึ่งในสามของเชลยที่ถูกจับได้ตั้งแต่เริ่มสงคราม บรรดาเชลยถูกแยกเป็นกลุ่มๆ จากนั้นก็เดินเท้ากว่า 250 ไมล์ไปยังค่ายเชลยทางตอนเหนือและทางตะวันออก เชลยนับร้อยคนเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ผู้บาดเจ็บถือเป็นอันดับแรกที่ต้องดูแลจนกว่าเจ้าหน้าที่กาชาดจะมาถึง, ผู้บาดเจ็บ 838คน ถูกเคลื่อนย้ายไปทันที ที่เหลือได้รับการปฐมพยาบาลเท่าที่จะทำได้และเชลยที่เหลือถูกกักตัวไว้สภาพในค่ายเชลยเลวร้าย เชลยจากเดียนเบียนฟูหลายคนเป็นทหารต่างด้าวเชื้อสายเยอรมัน เชลยต้องอยู่กันอย่างแออัด, อดอยาก และถูกทารุณ ทำให้เชลยจำนวนมากเสียชีวิต จากทั้งหมด10,863 คน อีก 4เดือนต่อมาเหลือเพียง 3,290คน

สรุป การรบครั้งนี้ฝรั่งเศสเสียทหารไป 2,200 คน จากกำลังทั้งหมด 20,000 คน ส่วนเวียดมินห์เสียทหารไป 8,000คน บาดเจ็บอีก 15,000 คน จากทหารทั้งหมด 100,000 คน

ผู้เขียนจะพยายามเพิ่มเติมข้อมูลเหล่านี้อีกเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้พออ่านเป็นวิทยาทานข้อมูลไปก่อน แต่ถ้าใครสนใจที่ทราบรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ อยากจะสมัครเป็นทหารต่างด้าวนี้สามารถทำได้ เพราะทางหน่วยรับสมัครจะไม่จำกัดสัญชาติ และภาษา ซึ่งมีรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ http://www.legion-recrute.com/en/ และอยู่ที่บทความอ้างอิงด้วยครับ สำหรับการเป็นทหารต่างด้าว (ลีเจียนแนร์)นั้นรายดีได้พอสมควรทีเดียวกินอยู่ฟรี แถมเครื่องแบบ และมีเงินให้อย่างต่ำ 1205 €ยูโร มีหยุดพักปีล่ะหนึ่งเดือน ถ้าไปประจำการที่นอกประเทศฝรั่งเศสจะได้เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงเพิ่มเติม ถ้าได้เป็นหน่วยพลร่มจะได้ค่าปีกเพิ่มเติมอีกด้วย เช่นการไปประจำการหน่วย 13°DBLE ที่ จีบูติ จะได้เงินเดือนละประมาณ 3567 € ยูโร ถือว่าไม่เลวทีเดียว อัตราความเสี่ยงอยู่ที่ 1:10 คนทีสมัครอายุ 18 ขึ้นไปและต้องไม่เกิน 40ปี สายตาสั้นพอรับได้ ใช้พาสปอตร์ ท่องเที่ยวมาสมัครได้ ที่สำคัญฟิตร่างกายให้พร้อมต่อการทดสอบร่างกายและตรวจสุขภาพประมาณ สิบห้าวัน และรอผลการคัดเลือกอีกหนึ่งอาทิตย์ ถ้าผ่านแล้ว ต้องทำสัญญาเป็นทหารห้าปี และไปฝึกอยู่กับเขาอีก เป็นเวลา สิบห้าอาทิตย์ และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องพูดภาษาฝรั่งเศสได้เพราะทางหน่วยฝึกจะมีให้เรียนภาษาในตัวด้วย แม้ว่าจะมาจากประเทศเดี่ยวกันทางศูนย์ฝึกจะจับแยกให้อยู่กับคู่หูที่พูดภาษาฝรั่งเศสแทน แต่การได้ศึกษาภาษาฝรั่งเศสมาบ้างก็จะช่วยให้อยู่ง่ายขึ้น อยู่แล้วติดใจอยากอยู่ต่อสามารถสอบแข่งขันเป็นนายสิบ และเลื่อนฐานะขึ้นไปได้ถึงนายทหารเลยทีเดี่ยวครับ ปัจจุบันนี้มีทหารต่างด้าวที่เป็นสัญชาติญี่ปุ่นอยู่ประมาณ ห้าสิบคนแล้ว ส่วนคนไทยเคยมีไปเหมือนกันแต่ในปัจจุบันไม่ทราบจำนวนแน่นอน ถ้าใครสนใจก็ลองได้เลยครับ แค่เตรียมร่างกายให้พร้อมไว้ ตรวจสุขภาพพื้นฐานให้ดี โดยเฉพาะการวิ่งทน เดินทน ให้อึดมากๆหน่อยและขอให้โชคดีครับ
จากธีรพงษ์
วีดีโอลิงค์การฝึกจากศูนย์รับสมัครจนจบหลักสูตร สามารถนำไปเป็นข้อมูลการตัดสินใจได้ครับ มี 5 ตอน
http://www.youtube.com/watch?v=uy0QsV1CWhE&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=uYbmrz7oZcc&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=WajCMEH6L9A&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=kvEbajjJ3bM&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=Ay91AkzuPIc&feature=related

บทความอ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/French_Foreign_Legion
http://french-foreign-legion.com/
http://www.answers.com/topic/french-foreign-legion
http://french-foreign-legion.com/french_foreign_legion_enlistment.html
http://www.legion-recrute.com/en/
http://www.absoluteastronomy.com/topics/French_Foreign_Legion
http://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Camar%C3%B3
http://en.wikipedia.org/wiki/Jean_Danjou
http://en.wikipedia.org/wiki/Franco-Prussian_War
http://www.historum.com/showthread.php?p=218800
http://en.wikipedia.org/wiki/File:Lieutenant-Colonel_Donnier.jpg
http://en.wikipedia.org/wiki/Vichy_France
http://forum.axishistory.com/viewtopic.php?t=113632
http://balagan.org.uk/war/rif-wars/timeline_third.htm
http://www.ocnus.net/cgi-bin/exec/view.cgi?archive=107&num=27536
http://www.militaryhistoryonline.com/20thcentury/francosiamese/default.aspx
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hummel&month=05-2007&date=23&group=2&gblog=1
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hummel&group=2
http://lib.ru/TXT/franclegion.txtภาพทหารฝรั่งเศสในยุทธภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้