วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2552






ลำลึกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับ หัวใจของความเสมอภาคทางสังคม






ด้วยความมุ่งมั่น ที่จะทำให้สังคมนั้นไม่มีช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยมากเกินไป ชาวนาและกรรมกรผู้ยากจน ถูกเอารัดเอาเปรียบ และ ถูกกดขี่ข่มเหง จากกลุ่มชนชั้นทางสังคม และการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมกัน นำมาซึ่งความแตกแยก โดยเขาทั้งหลายมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เสมอภาคหรือไม่แบ่งแยก หรือ มีความแตกต่างกันมากจนเกินไป และตราบใดปัญหาเหล่านี้ยังไม่ถูกแก้ไข ลัทธิความเชื่อที่ต้องการความเท่าเทียมเหล่านี้จะต้องหวนกลับมาอีกครั้งดังสัญลักษณ์ของ ธงสีแดงที่ปลิวโบกสบัด เป็นสัญญาณแห่งการต่อสู่ของชนชั้นแรงงานและกรรมกร ที่อยู่ในรูป ฆ้อน และ เคียว และความแน่วแน่ที่ยังคงรอคอยคำตอบจากความล้มเหลวของระบบทุนิยมที่ยังครุกลุ่นอยู่เสมอ
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยสหายโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่า สหายซุง โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และมีตัวแทนสองคนคือ ตัง หรือ เจิ่นวันเจิ๋น และ เหล่าโหงว หรือ อู่จื้อจือ จนก่อตั้งเป็นรูปร่างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2485 หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 57 คน

วันเสียงปืนแตก
วันเสียงปืนแตก คือวันที่
7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลเรณูนคร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์"ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมาตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 มีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสู้กันด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน

ข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แม้ตามกฎหมายแล้ว พรรคคอมมิวนิสต์ฯ จะยังไม่ใช่พรรคการเมือง เนื่องจากไม่เคยจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติแล้วต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองจริง และมีอุดมการณ์ทางการเมืองชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง คือดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตง

จากเหตุการณ์ทางสังคมไทยที่ผ่านมา มีการใช้กติกา แบบ สองมาตรฐาน เช่นการตุลาการภิวัฒน์ ตามด้วย การชุมนุมของคนเสี้อเหลือ และ การชุมนุมขอคนเสื้อแดง โดยการดำเนินการทางกฏหมาย ไม่ได้อยู่ในหลักการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน การที่ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยการปฏิวัติ โดยอ้างความชอบธรรมเช่นเดิม ซึ่งเป็นการล้มกระดานหมากรุก และเขียนกฏการเล่นแบบใหม่ จนบางคนเบื่อที่จะเล่นด้วย เพราะถ้าเล่นแล้วกูจะชนะไม่ว่าแต่ถ้ากูแพ้ขึ้นมากูก็จะล้มกระดานหากฎใหม่อยู่ร้ำไป แบบไอ้ขี้แพ้ชวนตีเหมือนเช่นเคย แต่คราวนี้มันน่าเกลียด ชาวบ้านเขามองอยู่ดูแล้วมันแทงตาว่าไอ้ห่านี้มันโกงนี่หว่า มันจะเล่นให้เอาชนะอย่างเดียวแพ้ไม่เป็น มันลูกผู้ชายใส่ผ้าถุง คนที่เห็นบางคนเขาก็รับไม่ได้ มันจึงทะเลาะกันอยู่ไม่เลิกไม่ลาอย่างนี้ ก็เพราะการไม่เคารพ กติกา นี่เอง การเป็นขี้แพ้ ชวนตี นี้ ท้ายสุด พวกนี้จะไม่มีใครหน้าไหน เขาคบค้าสมาคมด้วย เพราะเขารู้ว่าเป็นนักเลงแบบสวมผ้าถุง โดยร้องหาความสมานฉันท์ และความปรองดอง พร้อมเป่าประกาศ ว่ากติกาใหม่มาแล้ว มาเล่นกันอีก คราวนี้กูไม่แพ้แน่ นี้เหรอจะไม่ให้เกิดความแตกแยกในสังคม เขาคิดว่าชาวบ้านกรรมการ ชาวนาโง่ จงรู้ด้วยว่าเขาเข้าใจประชาธิปไตย ดีกว่าใครหลายคน เสียอีก เพราะตอนนี้เขารู้ว่า เขาเลือกใคร แล้ว ประเทศจะเจริญ และมีความเท่าเทียมในสังคม กว่ากัน เพราะว่าในตอนนี้การทีพวกคุณได้สร้างรอยร้าว ไว้ให้แก่สังคมไทยด้วยระบบสองมาตรฐานไปแล้วนั้น ก็เหมือนว่าได้ปลุกยักษ์แดง ที่หลับไหลใหตื่นจากพวังค์ และ พร้อมที่จะระเบิดความเกรี้ยวกราดจากความบอบช้ำที่เคยได้รับ โดยรอวันประทุในวันใดวันหนึ่งเตรียมตัวให้ดี ขอฝากว่า คนเราทำอะไรก็ได้อันนั้น ปลูกถั่วได้ถั่ว ปลูกงาได้งา ขอเชิญคุณผู้ฉลาดเก็บเอาไปคิดเถอะ
***ในบล็อกความคิดนี้ ไม่ได้มีเจตนา ทำร้ายประเทศหรืออย่างไร แต่ขอมอง สังคมอีกมุมหนึ่งในแวดล้อมของชนชั้น กรรมกรและ ผู้ใช้แรงงาน อีกหลายล้านคน ทั่วประเทศ ที่เขาได้รับ สวัสดิการทางสังคม จากรัฐบาลที่ผ่านมา นี่ก็คือบทพิสูจน์ การทำงานของรัฐบาลในชุดปัจจุบันนี้ ว่าจะทำให้ประชาชนไทยทั่วไป และชนชั้นแรงงานในสังคม ยอมรับได้มากขนาดไหน เราต้องดูกันต่อไป





ไม่มีความคิดเห็น: