ไร่องุ่นในฝรั่งเศษที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ท้องถิ่น กับ ชาวนาผู้ยิ่งใหญ่ของไทยกับควาย
บทความนี้ขอแสดงความเคารพต่อผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยอย่างแท้จริง...........
ชาวนา
ก่อนเสียงนกแว้วร้องกว่าพระอาทิตย์จะทอแสงรุ่ง มีคนกลุ่มใหญ่เตรียมออกไปทำภาระกิจกันแล้วด้วยเครื่องแบบที่มอซอ(เสื้อขาดกางเกงปะแล้วปะอีก) โดยผู้คนเหล่านี้ต่างคนต่างรู้สึกขนขวายมุ่งหน้าสู่ทุ่งสีเขียวขจีสุดลูกหูลูกตา และแล้ววันแห่งการทำนาก็เริ่มขึ้นอีกวันหนึ่ง
ชาวนาไทย
เป็นอาชีพที่คนทั่วไปไม่นิยมส่งลูกหลานที่เรียนหนังสือแล้วมาเป็นกัน หรือว่าเป็นคำอีกคำที่ใช้บอกเด็กที่ขี้เกียจเรียนว่า(ถ้ามึงไม่เรียนมึงอยากจะมาทำนาหรือไง) จนเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงอาชีพที่สังคมให้ค่านิยมที่แตกต่างจากคำว่าครู,หมอ,พยาบาล,ทหาร,ตำรวจ หรือ นักการเมือง ที่ให้ค่าคนที่ทำอาหารหลักให้แก่ประเทศและส่งออกอาหารที่เป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่เรียกว่า(ข้าว) โดยนัยแห่งความสำคัญไม่อาจจะแยกออกจากวิถีชีวิตของคนเอเซียได้เลยจนบางทีเข้าลึกจนถึงวัฒนธรรมเลยทีเดียว เช่นบางลัทธิให้มีเทวดาประจำ ที่ต้องกราบไหว้บูชากันทุกๆปี(พระแม่โพสพ)จนถึงศาสนาก่อนสมัยพุทธกาลยังต้องมีพิธีในการให้กำลังใจกับผู้ที่ผลิตข้าวโดยให้กษัตริย์ในแว่นแคว้นมาเป็นประธานประกอบพิธีจนถึงปัจจุบันบางประเทศยังมีการทำพิธีนี้อยู่
คนไทยกับคำว่าข้าว จึงไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ เพราะว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทยที่ทานกันประจำตั้งแต่เกิดจนตายก็ว่าได้ โดยคำว่าอาหารแถบไม่ค่อยได้ออกปากจากคนไทย ถ้าถามว่าทานอะไรมาหรือยัง ก็จะถามว่า(กินข้าวมาหรือยัง)เป็นต้น ข้าวเป็นส่วนประกอบสำคัญของทุกประเพณีของคนไทยมาแต่เดิม เช่นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะใช้ข้าวมาเป็นส่วนประกอบร่วมอยู่ด้วย
คนไทยกับคำว่าชาวนา
คำจำกัดความของ สารานุกรมเสรีให้ไว้ว่า ชาวนา คืออาชีพทางเกษตรกรรม ในประเทศไทยมักมีความหมายถึงอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก ชาวนาในประเทศไทยนับว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่สุด เพราะข้าวเป็นอาหาร หลักของคนไทย อาชีพทำนาเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทย ที่สืบทอดมายังอนุชนรุ่นหลัง โดยส่วนใหญ่แล้วชาวนาจะใช้ชีวิตอยู่โดยสงบเงียบในชนบทการทำงานของชาวนาจะเริ่มทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำตลอดทั้งปี เพราะหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวประจำปีแล้ว พวกเขาก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปรัง หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ต่ออีก หรือไม่ก็เลี้ยงปศุสัตว์หรือสัตว์อื่น ๆ เสริม เช่น ปลา และ เป็ด เป็นตัน โดยปกติปลาจะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติในนาข้าว ดังนั้น ต้นกล้าและปลาจะเติบโตไปพร้อม ๆ กัน ส่วนใหญ่ข้าวจะปลูกกันมากในภาคกลาง ซึ่งจนถึงกับบางครั้งคำเรียกภาคกลาง ว่า "อู่ข้าวอู่น้ำ" ของเอเซีย
จากคำจำกัดความนี้ สะท้อนถึงงานอันหนักยิ่ง กว่าชาวนาจะได้ข้าวมาแต่ละเมล็ดต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจกันอย่างมาก ซึ่งอาชีพนี้ไม่ได้ทำการขดโกงใคร และ ยืนอยู่ได้บนลำแข่งของตัวเองอย่างแท้จริงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ปัจจุบันความสำคัญของชาวนากลับเป็นเพียงลักษณะที่คนทั้วไปที่เห็นว่าเป็น คนจนๆ ใส่เสื้อผ้าขาดๆ โทรมๆ เป็นหนี้ ขี้โรค ไม่มีความรู้ ต่ำต้อยเพียงดิน โดยพวกเขาต่างไม่ตอบโต้และยังคงทำนาเรื่อยมาอย่างไม่ลดละ เอาหลังสู่ฟ้าเอาหน้าสู่ดิน จนรัฐบาลในอดีตยกย่องชาวนาว่าเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ ซึ่งได้ผ่านกาลเวลามาหลายยุคหลายสมัย และสามารถทนต่อภาวะวิกฤติต่างๆในอดีตโดยไม่สนกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใด ตราบใดที่ยังมีน้ำไว้หล่อเลี้ยงชาวนาก็ยังสามารถสร้างผลผลิตไว้ให้สำหรับประชากรในประเทศได้อย่างพอเพียงเสมอ และยังเหลือส่งไปขายทำรายได้เข้าประเทศเป็นเงินจำนวนมหาศาลอีกด้วย แต่ยังมีข้อส่งสัยที่ว่าทำไมพวกเขาเหล่านี้ยังจนอยู่เหมือเดิมทั้งๆที่ผลผลิตของพวกเขาทำรายได้หลักเข้าประเทศทุกๆปี มีอะไรที่มากไปกว่ายี้ปั๊วซาปั๊ว ที่รับซื้อข้าวต่อจากชาวนาหรือไง ทำไมชาวนาถึงไม่รวมตัวกันขายข้าวเสียเอง คนที่รวยไม่ได้ทำนา คนที่ทำนาไม่ได้รวย มันเกิดอะไรขึ้นกับชาวนาไทยที่ถูกซ้ำเติมให้เป็นคนจนหนักลงเข้าไปอีก นี้เป็นข้อสงสัย ที่ยังต้องการคำตอบ หรือผู้ยิ่งใหญ่ในประเทศไทยเขาต้องการให้เป็นแบบนี้ นั้นก็ยากที่จะเดาได้
ในทางกลับกันจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อ มีนักเรียนนักศึกษาที่จบ ปริญญาตรี ปริญญาโท เพื่อมาเป็นชาวนา ล่ะ จากปัจจุบันประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับ ที่ ๖ ของโลกในขณะที่ชาวนายังเป็น คนจนๆ ที่ถูกสังคมไทยดูถูกว่าต่ำต้อย ไร้การศึกษา แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาการผลิตจากคนรุ่นใหม่ที่ใช้ความรู้บวกปัจจัยในการผลิตที่มาจากบรรพบุรุษจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ปัญญาชนชาวนา ที่สามารถใช้เครื่องมือในการทำงานวิเคราะห์หาข้อมูลแก้ไขได้โดยใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้เป็นระบบการจัดการ ที่เน้นการพัฒนาชุมชน และการกระจายสิ้นค้าแบบเน้นการตลาด บวกภูมิปัญญาดังเดิม โดยมีตัวอย่างที่น่าสนใจเช่นในประเทศฝรั่งเศส แต่ละเขตของประเทศเขาจะมีของที่ระลึกที่มาจากธรรมชาติเช่นไวน์จากองุ่นในไร่ ที่มีรสชาติต่างจากอีกเขตหนึงที่มีรัศมีการเดินทางไม่ถึง สามสิบ กิโลเมตร ผมยังเห็นด้วยกับนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณฯในเรื่อง นโยบาย หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ว่าถ้าใช้ภูมิปัญญาต่อเติมจากของที่เรามีอยู่แล้วจะเกิดสิ่งใหม่และสามารถสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อชุมชน อีกทางหนึ่ง
ในส่วนตัวผมคิดว่า สังคมชาวนายังขาดผู้ที่มีความรู้มาเป็นส่วนร่วมในการผลิตและต่อยอด การพัฒนาในการเพิ่มมูลค่าการผลิต ต่อพื้นที่ที่มีจำนวนเท่าเดิม และการกระจายผลผลิตส่งตลาดโดยตรงทั้งในและต่างประเทศ โดยมีลักษณะในการผลิตที่เป็นแบบออแกนิคมากขึ้นและเน้นสุขภาพให้กับผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องเป็น ข้าวอย่างเดียว อาจแปลรูปเป็นสิ่งของอุปโภคอื่นๆได้เช่น น้ำยานวดผมที่ทำจากน้ำนมข้าวเป็นต้น
ท้ายนี้ขอสดุดีชาวนาไทยและบทความนี้ขอแสดงความเคารพต่อผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยอย่างแท้จริง...........ชาวนา
ตาแป้น
ตาแป้น
จำกัดความของข้าวและที่มาพร้อมทั้งรายละเอียดข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
พันธ์ของข้าว
ข้าวที่นิยมบริโภคมีอยู่ 2 สปีชีส์ใหญ่ๆ คือ
Oryza glaberrima ปลูกเฉพาะในเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น
Oryza sativa ปลูกทั่วไปทุกประเทศ ข้าวชนิด Oryza sativa ยัง แยกออกได้เป็น
indica มีปลูกมากในเขตร้อน
japonica มีปลูกมากในเขตอบอุ่น
Javanica
ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวก Indica ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้ ข้าวยังได้ถูกมนุษย์คัดสรรและปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่มีประวัติศาสตร์การเพาะปลูก ข้าวในปัจจุบัน จึงมีหลายหลายพันธุ์ทั่วโลกที่ให้รสชาติและประโยชน์ใช้สอยต่างกันไป พันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของไทย คือ ข้าวหอมมะลิ
Oryza glaberrima ปลูกเฉพาะในเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น
Oryza sativa ปลูกทั่วไปทุกประเทศ ข้าวชนิด Oryza sativa ยัง แยกออกได้เป็น
indica มีปลูกมากในเขตร้อน
japonica มีปลูกมากในเขตอบอุ่น
Javanica
ข้าวที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพวก Indica ซึ่งแบ่งออกเป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว นอกจากนี้ ข้าวยังได้ถูกมนุษย์คัดสรรและปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่มีประวัติศาสตร์การเพาะปลูก ข้าวในปัจจุบัน จึงมีหลายหลายพันธุ์ทั่วโลกที่ให้รสชาติและประโยชน์ใช้สอยต่างกันไป พันธุ์ข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกของไทย คือ ข้าวหอมมะลิ
ลักษณะที่สำคัญของข้าวแบ่งออกได้เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต และลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ ดังนี้
ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
ลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ
รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน
ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง
ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ
ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์
ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว
รวง รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ เป็นต้น ข้อมูลภาพและเนื้อหาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
ลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ
รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน
ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง
ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ
ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์
ต้นข้าวขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว
รวง รวงข้าว (panicle) หมายถึง ช่อดอกของข้าว (inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง
ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา (lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย (palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้
เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม (endosperm) และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็นโดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ เป็นต้น ข้อมูลภาพและเนื้อหาจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น