วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เราเป็นใคร


วัฒนธรรมการตีกลองยาวของกลุ่มชนในยูนาน





















จักรวรรดิมองโกลประมาณ พ.ศ. 1800-1900พื้นที่ทางใต้กินอาณาบริเวณประเทศจีนทั้งหมดรวมถึงพม่า

ลักษณะชาติพรรณและการแต่งกายของ ชาวเขาเผ่าม้งและชาวมองโกล


เสียมกุกภาพสลักนูนต่ำรอบประสาท นครวัด ในประเทศกัมพูชา



นักรบชาติอาชาไนย กุบไลข่าน ที่มีหลักนิยมในการต่อสู้โดยใช้ม้าเป็นหลัก

ทหารล้านนา


ตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคชาตินิยมเคียงคู่กับสหายเก่าแก่ที่ชาตินิยมรุนแรงไม่แพ้กันก็คือประเทศ กัมพูชา จึงต้องการแลกเปลี่ยนทัศนะทางความคิดแก่กันและกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการหาข้อมูลมาประกอบในการแกะเรื่องราวที่ยากแก่การค้นหาว่าเราคือใคร? และจะจัดว่าเป็นพวกใดเหล่าใดโคตรใครอย่างไรกัน จากประวัติศาสตร์ที่มีการค้นคว้ามาแล้วบ้าง จากข้อมูลนักวิชาการทางโบราณคดีบ้าง จากความเห็นที่น่าสนใจ ของบุคคลต่างๆ โดยทั้งนี้มิได้เจตนาจะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ชนชาติไทยแต่อย่างใดแต่ใคร่จะแสดงความคิดเห็นแบบเชิงเหตุและผลเสียมากกว่า การสร้างกระแสความรักชาติจนลืมหลักความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ที่ประกอบไปด้วยเหตุและผล โดยข้อมูลเหล่านี้มีความน่าสนใจและน่าติดตามหาโคตรเถาเหล่ากอ ของไทยว่าเป็นอย่างไร ทำไมต้องเป็นไทย มีลักษณะความแตกต่างกับเพื่อนบ้านมากแค่ไหน และอะไรที่แตกต่างกับเขาถึงสามารถแยกแยะว่าใครเป็นไทยและใครไม่ใช่ไทย



1.ประวัติศาสตร์ที่มีการค้นพบในประเทศไทยที่เก่าแก่ที่สุดคือที่บ้านเชียง โดยสิ่งของที่ขุดพบมาจากในสมัยยุค 3,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยมีการพัฒนาเครื่องบรอนซ์ และมีการปลูกข้าว รวมถึงการติดต่อระหว่างชุมชนและมีระบอบการปกครองขึ้น มีหลายทฤษฎีที่พยายามหาที่มาของชนชาติไท ทฤษฎีดั้งเดิมเชื่อว่าชาวไทยในสมัยก่อนเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ขึ้นไปทางตอนเหนือถึงแถบเทือกเขาอัลไต จากนั้นได้มีการทยอยอพยพเคลื่อนย้ายลงมาทางใต้สู่คาบสมุทรอินโดจีน หลายละลอกเป็นเวลาต่อเนื่องกันหลายพันปี โดยเชื่อว่าเกิดจากการแสวงหาทรัพยากรใหม่ แต่ทฤษฎีนี้ขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าเชื่อถือได้ ในขณะเดียวกันก็มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเดิมชนชาติไท ได้อาศัยอยู่เป็นบริเวณกว้างขวางในทางตอนใต้ของจีนจนถึงภาคเหนือของไทยและได้มีการอพยพลงใต้เรื่อย ๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีน จากนั้นได้อาศัยกระจัดกระจายปะปนกับกลุ่มชนดั้งเดิมในพื้นที่ โดยไม่มีปัญหามากนัก ซึ่งอาจเนื่องด้วยดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนในช่วงเวลานั้นยังมีพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีกลุ่มชนอาศัยอยู่เบาบาง ปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรจึงไม่รุนแรง รวมทั้งลักษณะนิสัยของชาวไทนั้นเป็นผู้อ้อนน้อมและประนีประนอม ความสัมพ้นธ์ระหว่างชาวไทยกลุ่มต่างๆ อาจมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดอยู่บ้าง ในฐานะของผู้มีภาษาวัฒนธรรมและที่มาอันเดียวกัน แต่การรวมตัวเป็นนิคมขนาดใหญ่หรือแว่นแคว้นยังไม่ปรากฏ ในเวลาต่อมา เมื่อมีชาวไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนเป็นจำนวนมากขึ้น ชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทในภูมิภาค แต่ก็ยังคงจำกัดอยู่เพียงการเป็นกลุ่มอำนาจย่อย ๆ ภายใต้อำนาจการปกครองของชาวมอญและเขมร กระทั่งอำนาจของเขมรในดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มอ่อนกำลังลง กลุ่มชนที่เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของเขมร รวมทั้งกลุ่มของชาวไทย ในช่วงต่อมา มีการปกครองของหลายอาณาจักรในบริเวณที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่ ชาวมาเลย์ ชาวมอญ ชาวเขมร โดยอาณาจักรที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรทวารวดีในตอนกลาง อาณาจักรศรีวิไชยในตอนใต้ และอาณาจักรเขมรซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองที่นครวัด โดยคนไทยมีการอพยพมาจากดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้และทางใต้ของจีน ผ่านทางประเทศลาว โดยที่มาข้อมูลจากกีวีพีเดีย


2.มีนักโบราณคดีของไทยที่คิดว่าบรรพรุษของคนไทยไม่ได้หนีไปไหนก็คืออยู่ ณ ที่เดิมมานานแล้ว จากการอธิบายของนักศึกษาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรอย่าง อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ และ อนันต์ ชูโชติ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร 12 ที่ช่วยกันเล่าถึงประวัติศาสตร์คนไทยพร้อมหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนจากโบราณสถานเหล่านี้ว่าคนไทยอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบันมานานกว่า 3,000 ปีแล้ว ไม่ได้อพยพมาจากภูเขาอัลไต หรืออพยพมาจากไหน มีหลักฐานทั้งก่อนประวัติศาสตร์ (คือก่อนจะมีตัวหนังสือ) โดยมีหลักฐานจากการขุดค้นหลุมศพที่บ้านปราสาท ซึ่งตั้งอยู่กลางชุมชนปัจจุบัน พบโครงกระดูกมนุษย์ ชายหญิงและถ้วยโถโอชามที่พิสูจน์แล้วมีอายุเก่าแก่ 2,500-3,000 ปี พอๆกับโครงกระดูกมนุษย์โบราณที่พบที่บ้านเชียงและหลักฐานหลังประวัติศาสตร์คือ “ปราสาทหินพนมวัน” และ “ปราสาทหินพิมาย” ซึ่งมีอายุเก่าแก่พันกว่าปี มีจารึกเป็นภาษาเขมรเป็นหลักฐาน เพราะสมัยนั้น ภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ตั้งแต่ลพบุรีไปจนถึงกาญจนบุรี ล้วนตกเป็นเมืองขึ้นของ “เขมร” ซึ่งคนไทยสมัยก่อนชอบเรียกว่า “ขอม” ในยุคอาณาจักรชัยวรมันเรืองอำนาจ ภาคอีสานเขาเรียกว่า “เขมรสูง” เพราะอยู่บนที่ราบสูงเมืองสำคัญของเขมรในภาคอีสาน ก็คือ “เมืองพิมาย” จึงมีการสร้างปราสาทหินพิมายไว้ที่เมืองนี้ด้วยสถาปัตยกรรมเขมร จากภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า ประตูปราสาทหินพิมายพุ่งตรงไปยัง ประตูเมืองนครธมในประเทศเขมร และมีการจารึกเรื่องราวไว้บนกำแพงประตูเป็นภาษาเขมรไว้ด้วยแม้ในยุคสุโขทัย สมัยที่ พ่อขุนรามคำแหง เรืองอำนาจ ก็ไม่ได้รุกล้ำ เข้าไปในดินแดนนครราชสีมาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเขมรจนถึงยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งทรงนิยมสร้าง “เมกะโปรเจกต์” เหมือนรัฐบาลไทยสมัยที่แล้ว โดยสร้าง “นครธม” ที่มีกำแพงเมืองยาวด้านละ 12 กิโลเมตร ด้วยหินและด้วยน้ำมือคนล้วนๆสร้างปราสาทตาพรหม ปราสาทพระขรรค์ อย่างยิ่งใหญ่มีการเกณฑ์ราษฎรชายนับแสนๆคนไปสร้างโครงการเมกะโปรเจกต์เหล่านี้ จนไม่เป็นอันทำมาหากิน ปล่อยให้ผู้หญิงและเด็กทำไร่ทำนาเลี้ยงหัวหน้าครอบครัว ที่ถูกเกณฑ์ไปเป็นแรงงานสร้างปราสาทเหล่านี้แทน ทำให้บ้านเมืองเกิดความอ่อนแอในที่สุดอาณาจักรเขมรก็ล่มสลายลงในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถูก “พระเจ้าอู่ทอง” แห่งกรุงศรีอยุธยา ตีเอาเมืองมาเป็นเมืองขึ้นมากมาย แล้วประกาศตั้งตนเป็นอิสระ ต่อมาในสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” ทรงรวมเอา “เมืองโคราช” กับ “เมืองเสมา” เป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า “นครราชสีมา” โดยมี “เมืองพิมาย” เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดนครราชสีมาด้วย อาณาจักรต่างๆที่เปรียบเหมือนแต่ละประเทศในปัจจุบัน แต่จากหลักฐานใหม่ที่อ้างอิงนี้ก็ยังไม่สามารถอธิบายหลักฐานอีกข้อทางประวัติศาสตร์ที่ว่า คนไทยใหญ่ในรัฐฉาน คนไทยลื้อในสิบสองปันนะ คนไทยอาหม ในรัฐอัสสัม เป็นเผ่าเดียวกันอย่างแน่นอนโดยพิจารณาจากความเชื่อทางศาสนา ระบบการปกครอง การปลูกสร้างบ้านเรือน วัฒนธรรมและภาษาได้ โดยที่มาของข้อมูลนี้จากคุณ คนไทยอยู่ที่นี่ เมื่อ[14 ก.พ. 50 - 18:38]ได้ทำการโพสต์ไว้ในเวปสนทนาภาษาปืนที่มีความหน้าสนใจเลยเอามาลงไว้เป็นข้อมูลโดยมีข้อมูลบางตอน ซึ่งข้อมูลทั้งหมดดูได้ที่http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=36836


อย่างไรก็ดียังมีผู้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเป็นวิทยาทาน ให้แก่ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้คือ คุณ #5 โพสต์ในเวปสนทนาเดียวกันนี้เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2007, 06:43:26 AM ได้ทำการโพสต์ไว้ให้ความสำคัญอย่างน่าอ่านโดยมีสาระสำคัญดังนี้


ในการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ มีทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของชนชาติไทยดังนี้ครับ (ย่อมา)"...แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทยนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ 2 ทฤษฎี คือ


1.แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณประเทศจีนในกลุ่มนี้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปอีก 3 แนวคิด คือ


1.1 แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณตอนกลางของจีน คือบริเวณมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน


1.2แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไต ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนติดพรมแดนรัสเซีย


1.3 แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยอยู่ครอบคลุมบริเวณกว้างขวาง โดยตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ตั้งแต่ทางตะวันออกเฉียงใต้และทางตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย


2. แนวคิดที่เชื่อว่าถิ่นฐานเดิมของชนชาติไทยคือบริเวณที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน ศาสตราจารย์ พอล เบเนดิกต์ (Paul Benedict) นักภาษาศาสตร์และมนุษย์วิทยาชาวอเมริกันได้ทำการศึกษาด้านภาษาศาสตร์ จากการค้นคว้าทำให้เชื่อได้ว่า ภาษาไทยเป็นภาษาใหญ่ของชนชาติเอเซีย อยู่ในตระกูลออสตริคหรือออสโตรนีเซียน แยกสาขาเป็นพวกไทย ชวา-มลายู และธิเบต-พม่า เผ่าพันธุ์ของคนไทยจึงไม่น่าจะเป็นพวกมองโกลซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศจีน แต่น่าจะเป็นพวกชวา-มลายู สาเหตุการรุกรานของพวกมอญ เขมร จากอินเดียเข้ามาในแหลมอินโดจีน น่าจะเป็นเหตุทำให้คนไทยขึ้นไปทางใต้ของจีน แต่เมื่อถูกจีนรุกรานก็ต้องถอยร่นไปในเขตแคว้นอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และบริเวณตังเกี๋ย หรือ บริเวณเวียดนามในปัจจุบัน นักวิชาการไทยที่สนับสนุนความคิดนี้คือ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐาน จากการเทียบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหิน ที่ขุดค้นพบในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี พบโครงกระดูกมนุษย์ที่มีอายุนับหมื่นปี มีร่องรอยความเจริญของมนุษย์ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 3,000-5,000 ปี..."นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับชนชาติไทยอีกตำนานหนึ่ง (ท้าวเทพไททอง) ซึ่งอาจจะไม่มีหลักฐานอะไรมารองรับมากนัก แต่ก็พึงรับไว้พิจารณาครับ


และตามหลักฐานทางโบราณคดีจากภาพสลักนูนต่ำที่ประสาทนครวัด นครทม ผมได้เอามาร่วมในการพิจารณาเพื่อหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ของโลกใบนี้ให้ความสำคัญกับภาพสลักที่มีอายุกว่าพันปีชิ้นนี้โดยเป็นภาพนักรบโบราณที่มีเสี้อผ้าเครื่องแต่งกายแตกต่างจากทัพของเขมรที่อาจกล่าวได้ว่าทัพนี้ได้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถตีความได้จากภาพอย่างหลากหลายโดยนักวิชาการ


จิตร ภูมิศักดิ์ ตีความภาพนี้ว่าเป็น “ชาวสยามจากลุ่มน้ำกก” โดยยกหลักฐานด้านนิรุกติศาสตร์ (อักษรศาสตร์) ว่า กุก ในภาษาไทยอ่านว่า กก โดยระหว่างที่อาณาจักรขอมของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 รุ่งเรืองนั้น ชาวสยามแห่งลุ่มน้ำกกที่นำโดยขุนเจื่องซึ่งพงศาวดารล้านนาระบุว่าเป็นผู้ครองอาณาจักรเชียงแสน และเป็นบรรพบุรุษของพ่อขุนเม็งรายมหาราชก็กำลังรุ่งเรืองและทำการรบอยู่กับเมืองแถง ซึ่งชาวแถงเอง ก็มักส่งทหารไปช่วยจามรบขอมอยู่เสมอ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ ที่จะมีการช่วยเหลือกันทางทหารระหว่างสองอาณาจักร
ขณะที่ ศ.ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ตีความว่านี่เป็นกองทหารจากสุโขทัย เพราะเอกสารจีนเรียกคนไทยว่า “เสียม” มานานแล้ว ทั้งยังพิจารณาว่า ทหารแต่งตัวแบบคนป่าที่สลักอยู่นั้นมีใบหน้าที่คล้ายกับคนไทยคือหน้ารูปไข่ คิ้วโก่ง ดังนั้นนี่จึงน่าเป็นกองระวังหน้าจากสุโขทัยที่ส่งมาช่วยเมืองแม่ในฐานะประเทศราช
ส่วนนักวิชาการฝรั่งเศสตีความว่านี่เป็นทหารรับจ้างชาวสยาม โดยมีการให้ความเห็นว่ามีลักษณะที่มีการจัดทัพขาดระเบียบวินัยจากในภาพนูนต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับทัพอาณาจักรอื่นๆ

ทั้งอายุของนครวัดเกิดก่อนอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. 1781-1981) ราว 86 ปี (พ.ศ.1656-1695) ทั้งยังเกิดก่อนอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) เกือบ สองร้อยปี ที่มาจากคุณ อุเจน กรรพฤิทธิ์ จากบล็อกอุษาคเนย์http://www.sarakadee.com/blog/sujane/?author=1


จากความคิดส่วนตัวของผู้รวมรวมบทความนี้ คนไทยน่าจะมีวัฒนธรรมทางภาษาเป็นหลักส่วนการตั้งถิ่นฐานนั้นยากแก่การค้นคว้าเนื้องด้วยความเกี่ยวพันธ์อย่างแยกกันไม่ออกระหว่างชนชาติทางเอชียที่มีการผสมปนเปไปมาระหว่างกันในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแถบภูมิภาคพรมแดนจีนติดกับอินเดีย ที่สำคัญคือลักษณะประเพณีและวัฒนธรรมต่างหากที่อาจบ่งบอกได้ถึงเรื่องราวของชนชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแม่ปลาบู่ทองของชนชาติจ้วง ในมณฑลกวางสี ที่ต่อมากลายเป็นซินเดอเรล่านิทานตะวันตกไป การร้องรำทำเพลง จากคนไทยที่ชอบการเล่นกระทู้เพลงยาว หรือกลองยาวที่ปรากฏอยู่ให้เห็นได้แถบมณฑลยูนาน การทอถักสานที่มีการสะสมความรู้จากชนรุ่นต่อรุ่น การสร้างเรื่อนไม้ การนับถือศาสนา การทรงเจ้าเข้าผี วีถีการต่อสู่ ประเพณีแต่งงาน งานวันสงกรานต์ หรือวัฒนธรรมข้าว เหล่านี้สามารถเชื่อมโยงหมู่คนไทยได้เช่นกันจากเพลงชาติไทยที่หลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งไว้บางส่วนก็มีความน่าสนใจ เช่น ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ไทยนี้รักสงบแต่ถึงรบไม่คลาด สามารถแสดงให้เห็นว่าชนชาติที่เรียกตนว่าไทยนั้นแท้แล้วมีหลากหลายเผ่า กระจายตัวกันและอยู่แบบรักสันติ คราวใดมีศึกสงครามก็จะทำการรวมพลังกันต่อสู่ และลืมอดีตที่เคยบาดหมางกันไว้ชั่วคราว โดยปกติแล้วคนไทยจะรักบ้านเกิดเมืองนอนไม่นิยมย้ายถิ่นฐาน และมีความห่วงแหนบ้านเกิดกรณีอพยพจากด้านใต้ของจีนนั้น ผมมีความคิดว่าน่าจะมีการกระจายตัว ลงมาตั้งหลักแหล่งกันแล้วในบางส่วนแถบพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและที่อื่นๆ ที่อพยพอย่างใหญ่นั้นน่าจะเกิดหลังจากการรุ่กรานของชนชาติอื่นหรือสาเหตุอื่นนั้นก็ยากแก่การพิจารณา แต่ก็มีข้อมูลบางประการ ณ ช่วงเวลาของกองทัพกุบไลข่านเข้ามามีอิทธิพลแถบเอเชีย โดยที่เป็นน่าสังเกตุอยู่ว่ากองทัพจากทางเหนือนี้ไม่น่าจะมีความสามารถใช้กองทัพม้าธนูอันเกรียงไกลได้ จำต้องมีกองทัพที่ชำนาญในพื้นที่แถบแหลมอินโดจีนที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยกลุ่มชนที่มาใหม่ในดินแดนแหลมอินโดจีนนี้ก็ได้แก่ชนชาติพม่าที่มีเชื้อสายจากชนเผ่าธิเบตและกลุ่มชนชาติไทยหรือไต จากดินแดนแถบยูนานโดยชนชาติที่มิอิธิพลในพื้นที่เอเซียอาคเนย์อยู่ก่อนแล้วได้แก่ชนชาติมอญและอินเดียที่อยู่ในดินแดนแถบลุ่มอิรวะดีและชนชาติเขมรที่มีอิทธิพลอยู่ ณ บริเวณประเทศไทยและกัมพูชาในปัจจุบัน การเข้าทำการรุกด้วยกองทัพที่ไม่ชำนาญภูมิประเทศนั้นเป็นการยากที่จะเอาชนะได้ กองทัพที่มีความเกรียงไกรนี้ จะไม่ใช้ทหารของตนที่ไม่ชำนาญภูมิประเทศและอากาศเข้าทำการรบเป็นแน่ ซึ่งจะให้ทัพใดเข้ารบเพื่อยึดอานาจักร พุกาม และ เขมรในเวลาต่อมานั้นก็คงจะหนีไม่พ้นกองทัพที่คุ้นกับพื้นที่ทั้งสองเผ่านี้เองโดยในปัจจุบันมีข้อสังเกตุว่าชนกลุ่มน้อยที่อยู่กระจัดกระจายอยู่ตามภูเขาต่างๆนี้เป็นสิ่งที่หลงเหลือจากกองทัพอันเกรียงไกรที่ทำการรุกมาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้หรือไม่ ก็ไม่มีนักวิชาการหรือนักโบราณคดีคนใดให้คำตอบได้อย่างแน่แท้ แต่มีเอกสารจากราชสำนักจีนในสมัยพระเจ้ามังกุข่านปี ค.ศ.1253 หรือ พ.ศ. 1796 ได้เล่าถึงการเข้ารุกทำส่งครามกับอาณาจักรต้าลี่ หรือยูนาน ทีมีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายคลึกกับกลุ่มคนไทยปัจจุบันมากที่สุดโดยการพ้ายแพ้สงครามของต้าลี่อย่างใหญ่หลวงดังกล่าวทำให้แคว้นต้าลี่ทั้งแคว้นอพยพลงใต้และพบกับอาณาจักรอันอุดมสมบูรณ์โดยได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของขอม จนกระทั้งมีความแข็งเกร่งและตั้งราชธานีของตัวเองได้ในที่สุดและหลังจากการบุกยึดและเข้าตีอาณาจักรพุกามของกุบไลข่านได้แล้ว ทางอาณาจักรต้าลี่ใหม่ก็คือ สุโขทัยจึงได้มีการเจรจาการเป็นพันธมิตรกับกุบไลข่าน หรือ เจ้ากรุงจีนเรื่อยมานั่นเอง จากประวัติศาตร์การส่งเครื่องราชบรรณาการที่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ เป็นเวลาที่พวกมองโกลสามารถโค่นราชวงศ์ซ่งลงได้ และยึดครองจีนได้ทั้งหมด ต่อจากนั้นได้ส่งทูตไปยังอาณาจักรต่าง ๆ เรียกร้องให้ส่งคณะทูตนำบรรณาการไปถวาย หลังจากติดตามดูเหตุการณ์ระยะหนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชจึงส่งทูตนำบรรณาการไปถวาย แต่พระองค์ไม่ได้เสด็จไปกรุงจีนแต่อย่างใดความสัมพันธ์ในลักษณะรัฐบรรณาการมีความสำคัญเรื่อยมาตลอดสมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งต้นรัชกาลที่ ๔ ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จึงยุติลง



ดังนี้การที่จะรู้ว่าที่มาของชาติไทยนั้น ก็ไม่สามารถจำเจาะจงไปได้อย่างแท้จริงและไม่สามารถใช้ลักษณะหน้าตารูปร่างบ่งบอกได้เลยว่าคนไทยหน้าตาเป็นเอเชียแบบไหนได้แน่ชัดเพราะมีความหลากหลายทางเผ่าพันธ์ การจะกล่าวได้ว่าเป็นคนไทยหรือไม่ก็ต้องด้วยภาษาพูดและวัฒนธรรมการแสดงออกเท่านั้นจึงจะสามารถบอกได้ว่าบุคคลนี้เป็นคนไทย เพราะถ้าจะเอาภาษาเขียนก็ดูจะคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีภาษาทีเก่ากว่าการสถาปณากรุงสุโขทัยเสียอีก อีกทั้งลักษณะการใช้ราชาศัพท์นั้นในประเทศไทยที่นิยมใช้กันในราชสำนักตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบัน นั้นมาจากภาษาอะไร ท่านก็ทราบกันดีอยู่ และศิลปะการดนตรีและนาฎศิลก็ดูจะลอกแบบจากนางอัปศราจากวัฒนธรรมของเพื่อนบ้านมาใช้อย่างแนบเนียน การประดับประดาพระราชวังก็มีบางส่วนที่คล้ายกับประสาทขอมโบราณผสมวัฒนธรรมแบบพม่ามอญ และมีอะไรที่เป็นของไทยจริงๆบ้างล่ะ ที่เห็นชัดๆก็ภาษาพูดนั้นแหละ ถ้าท่านมีโอกาสลองเอาไปใช้แถวยูนาน(ต้าลี่)ก็จะรู้ว่าโคตรเดี่ยวกันหรือไม่ครับ.................................................................................ตาแป้น


หมายเหตุ


โดยจากระยะเวลาการเกิดขึ้นของกองทัพเจกิสข่านอันเกรียงไกลนี้อยู่ในปี พ.ศ.1750 และเมื่อเปรียบเทียบกับการเกิดของอาณาจักรนครวัด ปีพ.ศ. 1656 -1695 และการล่มสลายในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1300 หรือ พ.ศ. 1774 -1843


สมเด็จพระจักรพรรดิเจงกีส ข่าน มีพระชนมชีพอยู่ตรงกับประมาณ 1 ศตวรรษ ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงสุโขทัย ปัจจุบัน พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักการทหารที่เก่งที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลก


อาณาจักรโบราณดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: