วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มาทานฟักทองกันเถอะน๊ะ



ฟักทอง เป็นผักที่ทุกๆท่านรู้จักกันดี และเป็นผักพื้นบ้านของชาวไทยและชาวโลกมาช้านาน จนหาต้นตอที่มาว่าประเทศไทยได้เอามาปลูกจากแหล่งใดและใครนำมาได้ยากยิ่ง แต่เรามาลองทำความรู้จัก กับผักชนิดนี้ให้มากยิ่งขึ้นอีกดีกว่า ว่ามันอาจมีอะไรดีกว่าที่เรารู้มาอีกเยอะแยะ ครับ




ฟักทอง (Pumkins(ทอง), Kabocha (เขียว)) เป็นพืชชนิดหนึ่ง มักจัดเป็นพวกผัก เนื่องจากนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร แต่ก็ยังนำไปทำของหวานเป็นอาหารว่างได้ด้วย ปกติฟักทองเมื่อแก่จัดจะมีสีเหลืองอมส้ม เป็นพืชมีเถา ปลูกได้ทั่วไปทั้งในเขตร้อนและเขตหนาว ในทางพฤกษศาสตร์ จัดอยู่ในสกุล Cucurbita Cucurbitaceae ถือว่าเป็นพืชดั้งเดิมของโลกตะวันตก
ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย ส่วนในประเทศตะวันตก นิยมนำฟักทองมาเจาะเป็นช่อง มีจมูก ตา แล้วใส่เทียน หรือดวงไฟข้างในเพื่อฉลองในวันฮาโลวีน เรียกว่า แจคโอแลนเทิน' (Jack-o'-lantern pumpkin)
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์
มะเร็งให้อ่อนแอลง


นำมาจาก http://th.wikipedia.org/




สรรพคุณทางสมุนไพรของฟักทอง เนื้อใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน เยื่อภายในผลใช้พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวด ส่วนเมล็ดที่เคี้ยวกันมัน ๆ นั้นใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะและบำรุงร่างกาย รากนั้น ในตำราโบราณใช้ต้มดื่มน้ำเป็นยาแก้ไอ
ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก หากกินทั้งเปลือกก็จะได้คุณค่าเพิ่มขึ้นอีก มีเบต้า-แคโรทีน ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เนื้อฟักทองสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ ไต รวม ๆ ก็คือ ช่วยควบคุมสมดุลในร่างกายนั้นเอง
จะกินของหวาน หรือของคาว ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ว่าง ๆ ก็ไม่รู้จะหาของกินเล่นเป็นอะไร ก็ลองเอาฟักทองสักชิ้นมานึ่ง พอสุกก็เอามาจิ้มน้ำตาล หรือจะกินเปล่า ๆ ยิ่งตอนนี้มีคนเอามาอบกรอบกินเล่น ง่ายและดีต่อร่างกายมากกว่าขนมถุงขนมซองไม่รู้กี่เท่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วราภรณ์ วิชญรัฐ, ไม้เลื้อยกินได้, สุรีวิยาสาส์น กรุงเทพมหานคร,2548. 120 หน้า


ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เมล็ด ราก ขั้ว น้ำมันจากเมล็ด เยื่อกลางผล ยาง
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
เมล็ด รสมัน ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย แก้พิษปวดบวม
ราก รสเย็น ต้มน้ำดื่ม บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น ดับพิษสัตว์กัดต่อย
ขั้ว รสเย็น ฝนกับมะนาวผสมใยฝ้ายเผาไฟ รับประทานแก้พิษกิ้งกือกัด
น้ำมันจากเมล็ด รสหวานมัน รับประทานบำรุงประสาท
เยื่อผลกลาง รสหวานเย็น พอก แก้ฟกช้ำ แก้ปวดอักเสบ
ยาง แก้พิษผื่นคัน เริมและงูสวัด

ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com


คุณค่าทางอาหารและยา ฟักทองมีสารอาหารบำรุงร่างกายมากมาย ที่สำคัญได้แก่ วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี และธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์ ให้ความสนใจสารเบต้าแคโรทีน ที่มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง ที่มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ หากกินฟักทองทั้งเปลือกจะได้ฤทธิ์ทางยา สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินซึ่งชว่ยควบคุมระดับน้ำตาล ในเส้นเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงตับ ไต นัยน์ตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไป เมล็ดฟักทองมีแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง สามารถป้องกันการเกิดนิ่ว และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด นอกจากนี้ฟักทองยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เหมาะสำหรับหลังคลอดบุตร ที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส และเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย


ส่วนมากเรามักนำฟักทองมาบริโภคเป็นผัก โดยเฉพาะยอดอ่อน ดอกฟักทองและผลอ่อน นำไปลวก ต้ม หรือผัดน้ำมัน จิ้มน้ำพริก รับประทาน หรือนำไปแกงเลียง แกงส้ม ก็ให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง สำหรับผลแก่ปรุงเป็นอาหารคาวเช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงใส่กะทิ ฟักทองต้มกะทิ แกงเผ็ด เป็นต้น ส่วนอาหารหวาน เช่นฟักทอง แกงบวด ฟักทองเชื่อม ฟักทองสังขยา ฟักทองนึ่งมะพร้าวเกลือ บัวลอยฟักทอง อาหารว่าง เช่น ข้าวเกรียบฟักทอง น้ำฟักทอง ส่วนเมล็ด ฟักทองนำมาอบ หรือคั่วกับเกลือ ทานเป็นของขบเคี้ยว ฟักทองมีสารอาหารบำรุงร่างกายมากมาย ที่สำคัญได้แก่ วิตามินบี วิตามินเอ วิตามินซี และธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งปัจจุบันวงการแพทย์ ให้ความสนใจสารเบต้าแคโรทีน ที่มีอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง ที่มีส่วนช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้

โดย Dr.วัลลภ คุณาธรรม


และสาวไหนที่ชื่นชอบการขัดตัว แต่ไม่อยากเข้าสปา เพราะขี้เกียจเดินทางหรือเกี่ยงกับราคาที่แสนแพง ลองมาทำเองที่บ้านกันดีกว่า เริ่มจากนำ เนื้อฟักทองสดปอกเปลือกหั่น 1 ถ้วย นมสด 1/2 ถ้วย และน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ ปั่นส่วนผสมให้เข้ากัน นำมาทาทั่วเรือนร่าง ทิ้งไว้ 20 นาที ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นเช็ดออก เน้นถูไปมาบริเวณหยาบกร้าน ทำสัปดาห์ละครั้ง เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตและการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ครับ โดยข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/


ประโยชน์ด้านอาหาร
มีกากใยมากพอสมควร
ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก
ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำ
ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล
เนื้อในของผลฝักทองจะมีสาร carotenes อยู่ ซึ่งสารนี้เมื่อเข้าไปในร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ไม่ว่า จะอยู่ในรูปของคาวหรือของหวาน เป็นอาหาร เสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี และบำรุงสายตาดีอีกด้วย
เหมาะสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร เนื่องจากขาดธาตุฟอสฟอรัสและที่สำคัญเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย มีฤทธิ์อุ่น ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลัง ลดอาการอักเสบ แก้ปวด


ข้อควรระวัง คนที่กระเพราะร้อน (คือมีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีก อาจพบแผลในช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น) ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาร้อน แม้คนปรกติเอง ถ้ากินครั้งเดียวมาก ๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้ ที่มา http://www.vttradio.com/vtt/newsdetail.php?news_id=1395


ในเนื้อฟักทองสด 100 กรัม จะมีคุณค่าทางอาหาร ดังนี้
โปรตีน
1.63
ไขมัน
0.2
กากใย
0.88
คาร์โบไฮเดรต
10.1
วิตามินเอ
2,220
หน่วยสากล
พลังงาน
48.7
กิโลแคลอรี
ซึ่งจะเห็นว่า ฟักทองเป็นพืชผักที่มีกากใยมากพอสมควร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และไม่ทำให้อ้วน เพราะมีแคลอรีไม่สูงมาก ผู้ต้องการมีรูปร่างสวยงามควรบริโภคเป็นประจำและฟักทองยังมีวิตามินสูง ซึ่งช่วยบำรุงผิวพรรณและสายตาอีกด้วย


ลักษณะทางพฤษศาสตร์

ฟักทองเป็นพืชผักที่มีลำต้นทอดและเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่นเดียวกับแตงโม มีดอกสีเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะแยกกันแต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องการช่วยผสมเกสร โดยวิธีธรรมชาติ เช่น ลมพัด หรือมีแมลงผสมเกสร หรือผู้ปลูกช่วยผสมเกสรเพื่อการติดผล
เป็นไม้เถาอ่อน มีขนสากมือ มีหนวดสำหรับเกี่ยวพันทอดไปตามพื้นดิน จึงต้องการเนื้อที่ปลูกมากกว่าพืชผักอื่นๆ เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีอายุปีเดียว (ฤดูเดียว) เมื่อให้ผลแล้วก็ตายไป
มีหลายพันธุ์ทั้งแบบต้นเลื้อยและเป็นพุ่มเตี้ย พันธุ์เบามีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 50-60 วัน ส่วนพันธุ์หนักมีอายุตั้งแต่หยอดเมล็ดจนติดผลอ่อน 45-60 วันและให้ผลแก่เมื่อ 120-180 วัน โดยทยอยเก็บผลได้หลายครั้งจนหมดผล


พันธ์ของฟักทอง

มีพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์ เรียกตามลักษณะของผล เช่น พันธุ์ข้องปลา จะมีลักษณะของผลคล้ายข้องปลา, พันธุ์ผลมะพร้าว จะมีลักษณะผลคล้ายมะพร้าว เป็นต้น
พันธุ์ดำ เมื่อแก่เปลือกจะมีสีเขียวเข้มอมดำ เปลือกจะขรุขระเป็นปุ่มปม คล้ายผิวคางคก (บางทีก็เรียกพันธุ์คางคก) ก้นของผลยุบเข้าไปในผล ทำให้ปอกเปลือกยาก แต่เป็นพันธุ์หนักผลโต
พันธุ์น้ำตก ผิวจะไม่ค่อยขรุขระนัก ก้นของผลจะนูนออกมา ทำให้ปอกเปลือกง่าย ผลเล็กกว่าพันธุ์ดำเล็กน้อย
พันธุ์ฟักทองนี้ จะมีชื่อเรียกแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน มีขนาดรูปร่างสีเปลือก ผล และเนื้อก็แตกต่างกันไป พันธุ์เบาให้ผลเล็ก อายุเก็บเกี่ยว 120-180 วัน โดยทยอยเก็บผลได้เรื่อยๆ 4-5 ครั้ง ต้นหนึ่งๆ จะให้ผลได้ 4-5 ผล หรือมากกว่าถึง 7 ผล กรณีท่านต้องการจะทำการปลูกไว้เป็นไม้ประจำบ้าน เพื่อเอาไว้เป็นผักคู่ครัวสามารถทำตามได้ดังนี้ครับ


การปลูกและดูแลรักษา

ดิน ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีการปลูกผัก ชอบดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี และมีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างของดินระหว่าง 5.5-6.8 (ชอบดินเป็นกรดเล็กน้อย) ชอบอากาศแห้ง ดินไม่ชื้นแฉะ และน้ำไม่ขัง
ฤดูปลูก ส่วนมากจะเริ่มปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม หรือหลังฤดูทำนา แต่สามารถได้ดีในปลายฤดูการปลูกฟักทองคล้ายๆ กับแตงโม ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 ซม. เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด
การปลูก พันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3x3 เมตร
พันธุ์ที่มีทรงต้นพุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75x150 ซม. (พันธุ์เบา)
ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 ซม. แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็วการหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามากฝน และต้นฤดูหนาวคือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และปลูกได้ดีที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธุ์

เมื่อต้นกล้างอกจะมีใบจริง 2-3 ใบแล้ว ควรถอนแยกต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้งไป เหลือต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง เหลือหลุมละ 2 ต้น และรดน้ำทุกวัน
เมื่อต้นกล้าเจริญจนไม่มีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน
เมื่อฟักทองเริ่มออกดอก ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน
พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา
การรดน้ำต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ

ควรทำในระยะแรก เพื่อให้ดินร่วนซุยและโปร่ง พอต้นฟักทองมีใบปกคลุมดินแล้วก็ไม่ต้องกำจัดวัชพืชเมื่อดอกฟักทองกำลังบานให้เลือกดอกตัวผู้ เด็ดมาแล้วปลิดกลีบดอกออกให้หมด นำไปเคาะละอองเกสรตัวผู้ให้ตกลงบนดอกตัวเมีย ถ้าติดผลจะให้ผลอ่อน ถ้าไม่ติดผลดอกตัวเมียจะฝ่อไป วิธีนี้เรียกว่า "การต่อดอก"


ฟักทองเป็นพืชผักที่แมลงไม่ค่อยชอบทำลายเมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวไว้เลยโดยสังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนักดูนวลขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอดก้นผล แสดงว่าแก่จัดการเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย หรือบริโภคได้นานๆ โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น
จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง เก็บได้เรื่อยๆ ถ้าปลูกเดือนกุมภาพันธ์จะเก็บผลได้ในเดือนมิถุนายน (พันธุ์หนัก) ทยอยเก็บไปได้เรื่อยๆ จนเดือนกรกฎาคม ต้นหนึ่งถึง 5-7 ผล 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1-1.5 ตัน ถ้าดูแลรักษาใส่ปุ๋ยดีจะให้ถึง 2 ตัน (น้ำหนักสด) ถ้าพันธุ์เบา ปลูกได้ 50-60 วัน ก็เก็บผลได้
การเกิดโรค
1. โรคเถาเหี่ยว (เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย)
ลักษณะคือใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ เมื่อเหี่ยวจากปลายเถามาโคนเถาแล้ว จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น ถ้าเอามีดเฉือนเถาที่เหี่ยวดูตามความยาวจะเห็นว่า กลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียนี้จะอาศัยอยู่ในตัวแมลงเต่าแตง เมื่อแมลงเต่ามากัดกินใบ จะนำเชื้อนี้เข้าสู่ต้นฟักทองและเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเซพวิน 85 อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (ห้ามใช้เกินจะทำให้ใบใหม้) ฉีดพ่นแมลงเต่าที่เป็นพาหะนำโรคเถาเหี่ยว โดยฉีดพ่นเมื่อต้นกล้าแข็งแรง พ่นทุก 5-7 วัน จนฟักทองเริ่มทอดยอด
2. เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำตัวขนาดเท่าปลายเข็มจะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนและใต้ใบอ่อน ทำให้ยอดหดสั้นปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้น หรือเรียกว่า โรคยอดตั้ง (ไอ้โต้ง) ถ้าพึ่งเริ่มเป็นใหม่ๆ แล้วมีฝนตกมาหรือให้น้ำทั่วถึงเพลี้ยไฟจะหายไป



การป้องกันทางธรรมชาติ
1. ปลูกมะระล้อมไว้สัก 2 ชั้น แล้วจึงปลูกฟักทอง เพราะมะระจะต้านทานเพลี้ยไฟได้ดี หรือปลูกมะระแซมในแปลงที่ปลูกฟักทอง
2. เพลี้ยไฟชอบระบาดในฤดูแล้ง ถ้ามีฝนมาจะหายไป เมื่อเพลี้ยไฟเข้าทำลายใช้แลนเนท หรือไรเนต หรือพอสซ์ ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน ถ้าระบาดมากฉีดพ่น 3-5 วัน โดยงดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 15 วัน
ข้อมูลจาก ถวัลย์ นวลักษณกวี ประพันธ์
http://www.doae.go.th/library/html/detail/pumpkin/pumpkin2.htm

ราคาการจำหน่ายฟักทองในปัจจุบัน
ราคา กก.ละ 15 -20 บาท ขายปลีก ขายส่ง อยู่ที่ กก.ละ 10-12 บาทครับ
สรุปแล้วเห็นประโยชน์ของผักชนิดนี้แล้วนะครับใครมีที่มีทาง ไม่ได้ทำอะไรก็ลองมาปลูกฟักทองดูเป็นงานอดิเรกครับ แบบเปลี่ยนLook เป็นเกษตรกรดูบ้างก็ได้น๊ะครับเพราะว่าฟักทองปลูกไม่ยาก ครับและท่านสามารถปลูกไว้เล่นที่สวนหลังบ้านไว้เพลินๆได้อีกด้วย และเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แล้วยังเป็นยารักษาโรคได้อีกด้วย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานและมะเร็ง ครับ
สมควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่ต้องไปหาอาหารสุขภาพราคาแพงที่ไหนมาทานให้มากเรื่อง และเป็นการประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริโภค ได้มากครับ เราท่านทั้งหลายควรหันมาบริโภคฟักทอง กันให้มากขึ้นด้วยเถอะครับ ถ้าได้วันละมื้อ ได้ยิ่งดีครับ เพราะฟักทองสามารถทำเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งอาหารหลัก อาหารเสริม ของขบเคี้ยว ขนม แล้วแต่จะทำกันครับ แค่ต้มใส่เกลือทานกับ นมข้นหวาน ก็อร่อยไม่หยอกแล้วครับ แต่ต้องทานทั้งเปลือกน๊ะครับ จะได้รับคุณค่าทางอาหารสูงขึ้นอีกครับ
หวังว่าท่านผู้อ่านทั้งหลายคงหาฟักทองมาทานกันให้มากครับ จะได้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อได้ต่อสู้และดำเนินชีวิตด้วยสติมากยิ่งขึ้นและเลือกทานอาหารให้มีประโยชน์ต่อรางกายครับ ก็เชื่อได้ว่าท่านไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตแล้ว และไดเชื่อว่า มีศิลปะในการดำรงแห่งชีวิตครับ คืออยู่อย่างมีความสุขในโลกนั่นเองครับ

ไม่มีความคิดเห็น: